วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ใส่ชุดดำไว้ทุกข์ไปงานศพ วัฒนธรรมตะวันตกที่คนไทยไม่ค่อยรู้

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ใส่ชุดดำไว้ทุกข์ไปงานศพ วัฒนธรรมตะวันตกที่คนไทยไม่ค่อยรู้ Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ใส่ชุดดำไว้ทุกข์ไปงานศพ วัฒนธรรมตะวันตกที่คนไทยไม่ค่อยรู้   ใส่ชุดดำไว้ทุกข์ไปงานศพ วัฒนธรรมตะวันตกที่คนไทยไม่ค่อยรู้ EmptySat Oct 27, 2012 2:35 pm

ทำไมต้องใส่สีดำไปงานศพหรือไว้ทกุข์
พิธีศพของชาวตะวันตกที่มีการจุดเทียนไว้รอบร่างผู้ตาย เพราะเชื่อว่าแสงเทียนจะทำให้วิญญาณตกใจไม่กล้าเข้าร่าง ด้วยเชื่อว่าในโลกของภูตผีวิญญาณนั้นไม่มีแสง มีแต่ความมืดมิดตลอดกาล เมื่อภูตผีเจอแสงเข้าจึงกลัว ดังนั้นเมื่อเข้าร่างคนตายไม่ได้ก็อาจจะเข้าร่างคนเป็นก็ได้

ด้วยความกลัวว่าวิญญาณจะเข้าสิงเอาขณะเผลอ คนเป็นจึงต้องทำตัวให้ต่างไปจากเดิม ด้วยการทาสีร่างกายหรือแต่งกายด้วยเครื่องแต่งกายแปลกๆ บางชุมชน ญาติผู้ตายที่ใกล้ชิดที่สุดจะเอาเสื้อผ้าของผู้ตายมาสวมอยู่หลายอาทิตย์หรืออาจจะหลายเดือนผู้ชายทางภาคอีสานของบ้านเราที่กลัวโรคไหลตายใช้วิธีทาเล็บด้วยสีแดงให้เหล่าภูตผีเข้าใจว่าเป็นผู้หญิงจะได้ไม่เอาตัวไป

ผ้าสีดำที่มักเห็นหญิงม่ายฝรั่ง แถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนคลุมหน้าในงานศพนั้นก็ด้วยเหตุผลเดียวกันคือ กลัววิญญาณสามีจะจำได้ โดยเธอจะคลุมหน้าและแต่งดำไว้ทุกข์อยู่ 1 ปีเต็ม

ส่วนทำไมต้องสีดำ นักโบราณคดีฝรั่งสันนิษฐานว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของผิว เพราะคนผิวขาวยุคแรกทาตัวด้วยสีดำในงานศพเพื่อแยกความแตกต่างระหว่างคนกับวิญญาณ ทำนองเดียวกันคนแอฟริกันผิวดำบางเผ่าที่ทาตัวด้วยสีขาวให้ตรงข้ามกับสีผิวธรรมชาติที่มีอยู่ เป็นการเลี่ยงไม่ให้วิญญาณเห็นและเข้าสิง แม้ในศตวรรษนี้ก็ยังคงพอเห็นการปฏิบัติเช่นนี้ของคนผิวดำ ส่วนคนผิวขาวเปลี่ยนจากการทาสีตามตัวมาเป็นสวมเสื้อผ้าสีดำแทน

สีดำ ไม่ได้มีความหมายไปในทางที่ไม่ดีเท่านั้น ชาวยุโรปยังถือว่า สีดำเป็นสีแห่งความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นบางคนจึงสวมชุดสีดำไปงานสำคัญๆอื่นด้วย เพื่อแสดงความยิ่งใหญ่ของงาน และให้เกียรติเจ้าภาพ

ประวัติชุดดำในงานศพของไทย
เมื่อสืบเสาะเรื่องการสวมชุดดำไปงานศพหรือไว้ทุกข์ของคนไทยจะเห็นว่าไม่ได้เป็นประเพณีของไทยแต่ดั้งเดิม เพราะงานศพสมัยก่อนของคนไทยค่อนข้างจะครื้นเครงของเสื้อผ้าที่สวมก็ไม่ได้เคร่งครัดเจาะจง ว่าจะเป็นขาวล้วนดำล้วนทั้งยังมีมหรสพการละเล่นยามค่ำคืนอีก (หรือถ้าจะไว้ทุกข์อย่างมากก็สีขาว) เป็นความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีที่ฝรั่งเห็นเข้าเมื่อไรเป็นงงเมื่อนั้น หนังสือประเพณีเนื่องในการเกิดและประเพณีเนื่องในการตาย ของเสถียร โกเศศ กล่าวไว้ว่าคนไทยนุ่งทั้งสีขาวสีดำ และสีอื่นๆ ไปงานศพเพิ่งจะนิยมเฉพาะสีดำในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามนี่เอง ส่วนอาหารไทยในงานศพที่มักจะเป็นสีขาวและสีดำเองก็เป็นอิทธิพลตะวันตกด้วยเช่นกัน และอิทธิพลสีดำเองทำให้สีดำเป็นชุดไว้ทุกข์ในวันตรุษจีนด้วย จากเดิมสีดำไม่เคยห้ามในวันตรุษจีน เพราคนจีนใช้สีขาวไว้ทุกข์ แต่วัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาสีดำเลยเป็นชุดไว้ทุกข์ไปด้วยเลย

อื่นๆ
- คนอียิปต์โบราณใส่ชุดสีเหลืองไปงานศพ และ ชาวโรมันโบราณใส่ชุดสีน้ำเงิน
- ชาวจีนใช้สีขาว ซึ่งเป็นสีแสดงความหวัง
- ชาวเปอร์เชียใช้สีน้ำตาลอันเป็นสีที่แสดงถึงใบไม้ที่ร่วงหล่น
- ส่วนชาวซีเรียใช้สีน้ำเงินซึ่งเป็นสีที่หมายถึงสรวงสวรรค์
- ในโลกตะวันตกเองนั้น เดิมทีก็มิได้ใช้สีดำเช่นกัน ในสมัยกลาง ชาวยุโรปใช้สีขาวเช่นเดียวกับชาวจีน - ในปี ค.ศ. 1498 เมื่อพระเจ้าเชาร์ลส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสสิ้นพระชนม์ พระราชินีม่ายแอนน์แห่งแคว้นเบรตันก็ฉลองพระองค์สีดำแสดงความอาลัยแก่พระสวามีผู้ล่วงลับจากการกระทำของผู้เป็นเจ้านี้เอง ทำให้ผู้คนหันมาเอาอย่างนับแต่นั้นเป็นต้นมา
- ในปี ค.ศ. 1860 พระราชินีวิคตอเรีย แห่งอังกฤษทรงสวมชุดสีดำเพื่อไปร่วมงานพิธีศพของพระสวามีของพระองค์ และหลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงสวมชุดดำไปตลอดพระชนม์ชีพ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระสวามี ตั้งแต่นั้นมา ผู้คนจึงยึดถือประเพณีใส่ชุดดำไปร่วมงานศพ และอีกเหตุผลก็คือ สีดำ เป็นสีแห่งความตาย และความลึกลับ


ขอขอบพระคุณข้อมูลและรุปภาพจาก
kon-mee-klass.blogspot.com
www.dek-d.com
www.palungjit.com

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ใส่ชุดดำไว้ทุกข์ไปงานศพ วัฒนธรรมตะวันตกที่คนไทยไม่ค่อยรู้
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: วัฒนธรรมต่างชาติด้านเครื่องแต่งกาย-
ไปที่: