วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย   ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย EmptySat Oct 27, 2012 11:59 am

ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย 240px-Owoce_Durian
ที่มาของชื่อทุเรียน
คำว่า ทุเรียน (durian) มาคำจากภาษามาเลย์ คือคำว่า duri (หนาม) มารวมกับคำต่อท้าย -an (เพื่อสร้างเป็นคำนามในภาษามาเลย์) D. zibethinus เป็นเพียงชนิดเดียวที่มีการปลูกเลี้ยงในเชิงการค้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และนอกถิ่นกำเนิด ในทุเรียนชนิด zibethinus ได้ชื่อมาจากชะมดอินเดีย (Viverra zibetha) มีความเชื่อแต่ไม่มีหลักฐานยืนยัน ว่าชื่อนี้ตั้งโดยลินเนียสซึ่งมาจากชะมดชอบทุเรียนมากจนมีการนำไปเป็นเหยื่อล่อในการดักจับชะมด หรืออาจเป็นเพราะทุเรียนมีกลิ่นคล้ายชะมด

ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย 170px-Garcia-orta-coloquios
ทุเรียนในประวัติศาสตร์โลก
ทุเรียนเป็นที่รู้จักและบริโภคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แต่ในโลกตะวันตกทุเรียนกลับเป็นที่รู้จักมาเพียง 600 ปี แรกสุดชาวยุโรปรู้จักทุเรียนจากบันทึกของ นิกโกเลาะ ดา กอนตี (Niccolò Da Conti) ผู้ที่เข้าไปท่องเที่ยวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การ์เซีย เดอ ออร์ต้า (Garcia de Orta) แพทย์ชาวโปรตุเกสได้บรรยายถึงทุเรียนใน Colóquios dos Simples e Drogas da India (การสนทนาทั่วไปเกี่ยวกับยาจากอินเดีย) ที่ตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2106 ใน Herbarium Amboinense (พรรณไม้จากอองบง) ซึ่งเขียนขึ้นโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน เกออร์จ เบเบอร์ฮาร์ด รัมฟิออซ (Georg Eberhard Rumphius) ซึ่งตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2284 มีหัวข้อเกี่ยวกับทุเรียนที่มีรายละเอียดมาก สกุลทุเรียน (Durio) มีอนุกรมวิธานที่ซับซ้อน เห็นได้จากการลบและการเพิ่มพืชหลาย ๆ ชนิดลงไปในสกุลนี้ตั้งแต่โดยรัมฟิออซตั้งสกุลทุเรียนขึ้นมา ช่วงแรกในการศึกษาอนุกรมวิธานของทุเรียนนั้น มีความสับสนระหว่างทุเรียนและทุเรียนเทศเป็นอย่างมากซึ่งผลของทั้งสองชนิดนี้เป็นผลไม้สีเขียวมีหนามเหมือนกัน มีบันทึกที่น่าสนใจที่ว่าชื่อภาษามาเลย์ของทุเรียนเทศคือ durian Belanda (ดูริยัน บะลันดา) ซึ่งแปลว่า ทุเรียนดัตช์[11] ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 โยฮันน์ อานทอน ไวน์มานน์ (Johann Anton Weinmann) ได้พิจารณาทุเรียนไปเป็นสมาชิกของวงศ์ Castaneae ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับกระจับม้า Durio zibethinus โดย ฮูลา แวน นูเท็น (Hoola Van Nooten) , ราวๆปี พ.ศ. 2406 ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวโปรตุเกสได้นำทุเรียนชนิด D. zibethinus เข้ามาสู่ซีย์ลอนและนำเข้ามาอีกหลายครั้งในภายหลัง ในทวีปอเมริกามีการปลูกทุเรียนเช่นกัน แต่จำกัดอยู่แค่ในสวนพฤกษศาสตร์เท่านั้น ต้นกล้าต้นแรกถูกส่งจากสวนพฤกษศาสตร์หลวงเมืองคิวมาสู่ โอกูสต์ เซนต์-อาร์โรมอง (Auguste Saint-Arroman) แห่งโดมินิกาในปี พ.ศ. 2427
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการเพาะปลูกทุเรียนในท้องถิ่นมามากกว่าศตวรรษ ตั้งแต่ช่วงหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และปลูกในเชิงพาณิชย์ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20[9] ใน My Tropic Isle (เกาะเมืองร้อนของฉัน) ของ เอ็ดมันด์ เจมส์ แบนฟีลด์ (Edmund James Banfield) นักประพันธ์และนักธรรมชาติวิทยาชาวออสเตรเลีย กล่าวว่า ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพื่อนของเขาจากประเทศสิงคโปร์ส่งเมล็ดทุเรียนมาให้ เขาปลูกและดูแลบนเกาะเขตร้อนของเขานอกชายฝั่งตอนเหนือของรัฐควีนส์แลนด์
ในปี พ.ศ. 2492 อี.เจ.เอช. คอร์เนอร์ (E. J. H. Corner) นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้ตีพิมพ์ The Durian Theory, or the Origin of the Modern Tree (ทฤษฎีทุเรียนหรือต้นกำเนิดของต้นไม้ยุคใหม่) ทฤษฎีของเขากล่าวถึงการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์โดยสัตว์ (เป็นการล่อให้สัตว์เข้ามากินผลและลำเลียงเมล็ดไปในกระเพาะของสัตว์) เกิดขึ้นก่อนวิธีอื่นในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ และบรรพบุรุษดั้งเดิมของสกุลทุเรียนได้ใช้วิธีนี้ในการแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์เป็นวิธีแรกสุด โดยเฉพาะในทุเรียนแดงที่เป็นตัวอย่างผลไม้โบราณของพืชดอก
ตั้งแต่ช่วงต้นของช่วงปี พ.ศ. 2533 ความต้องการทุเรียนภายในประเทศและในระดับสากลในพื้นที่ของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างมาก บางส่วนนั้นเกิดจากความมั่งคั่งที่เพิ่มขึ้นในเอเชีย

ภาพข้าวเหนียวทุเรียนขนมไทยอย่างหนึ่ง
ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย Dr001
ทุเรียนในประวัติศาสตร์ไทย
ทุเรียนเป็นพืชพื้นพื้นเมืองที่มีถิ่นกำเนิดในแถบ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย ในหนังสือเกี่ยวกับประเทศไทยสมัยอยุธยา ในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เขียนขึ้นโดย มองซิเออร์ เดอลาลูแบร์ (Simon de la Loubère) หัวหน้าคณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสในสมัยนั้น ตีพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2336 ตอนหนึ่งได้ระบุเรื่องเกี่ยวกับทุเรียนไว้ว่า "ดูเรียน (Durion) หรือที่ชาวสยามเรียกว่า “ทูลเรียน” (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้..."
จากหลักฐานดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า มีการปลูกทุเรียนในภาคกลางของประเทศไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ส่วนจะเข้ามาจากที่ไหน และโดยวิธีใด ไม่ปรากฏหลักฐาน แต่น่าเชื่อถือได้ว่า เป็นการนำมาจากภาคใต้ของประเทศไทยนั่นเอง
ในสมัยรัตนโกสินทร์ พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) ได้กล่าวถึงการแพร่กระจายพันธุ์ของทุเรียนจากจังหวัดนครศรีธรรมราช มายังกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2318 ในระยะต้นเป็นการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดและพัฒนามาเป็นการปลูกด้วยกิ่งตอน จากพันธุ์ดี 3 พันธุ์ คือ อีบาตร ทองสุก และการะเกด สำหรับผู้ที่หากิ่งตอนจากพันธุ์ดีทั้ง 3 พันธุ์ไม่ได้ จึงใช้เมล็ดจากทั้ง 3 พันธุ์นั้นปลูก ทำให้เกิดทุเรียนลูกผสมขึ้นมากมาย ซึ่งรายชื่อพันธุ์ทุเรียนเท่าที่รวบรวมได้จากเอกสารได้ มีถึง 227 พันธุ์

ภาพดอกทุเรียน
ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย 160px-Durian_flower
ประโยชน์ของทุเรียน
เนื้อทุเรียน - รสหวานร้อน ทำให้เกิดความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝี-หนอง แห้ง เนื้อทุเรียนมีฤทธิ์ขับพยาธิ
เปลือกหนามทุเรียน - รสเฝื่อน นำมาสับแช่ในน้ำปูนใสใช้ชะล้างแผลที่เกิดจากน้ำเหลืองเสีย แผลพุพอง หรือนำมาเผาทำถ่าน บดจนเป็นผง คลุกในน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ลดความบวมพองจากคางทูม และเผาเอาควันไล่ยุงและแมลง
ใบทุเรียน - รสเย็นและเฝื่อน ใช้ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้ดีซ่านและเป็นส่วนผสมในยาขับพยาธิ
รากจากต้นทุเรียน – ตัดเป็นข้อ ๆ ต้มให้เดือด ดื่มบรรเทาอาการไข้และรักษาอาการท้องร่วง

ทุเรียนในวรรณคดีไทย
จากกาพย์เห่ชมเครื่องหวาน ของ ร.2
"ทุเรียนเจียนตองปู
เนื้อดีดูเหลือเรืองพราย
เหมือนศรีฉวีกาย
สายสวาทพี่ที่คู่คิด"


จาก
กาพย์เห่ชมเครื่องหวาน
edunews.eduzones.com
en.wikipedia.org
th.wikipedia.org
www.dek-d.com
www.siamsouth.com
ภาพทุเรียนสีแดงซึ่งเป็นทุเรียนพื้นเมืองของรัฐซาบาห์ เกาะบอร์เนียว ประเทศมาเลเซีย
http://lh4.ggpht.com/_Xhlcxbe9Nzc/Se7UvpdH-MI/AAAAAAAAIDE/XL0mH54aeh8/t2.jpg
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ทุเรียนผลไม้ราชาจากมาเลย์สู่ไทย
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: