วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล   ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล EmptyWed Oct 24, 2012 10:39 am

ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล 259px-Hibiscus_pink
ประวัติดอกชบาสากล
ชบาพืชที่พบได้ทั่วไปในส่วนต่างๆ ของโลกมีถิ่นกำเนิดเป็นบริเวณกว้างใขเขตร้อนชื่น จากสมมุติฐานของ Ross Gast ในหนังสือ Genetic History of Hibibiscus rosasinensis บันทึกว่า ชบามีการกระจายพันธุ์เริ่มจากอินเดีย ซึ่งมีการนำชบามาใช้ประโยชน์ในกลุ่มชาวโพลินนีเซียน ต่อมาจึงแพร่หลายไปสู่จีน และบริเวณหมู่เกาะแปซิฟิก โดยนำชบาดอกสีแดง ( ปัจจุบันคือ Hibiscus rosasinensis ) ที่เรียกกันว่า กุหลาบจีน หรือ " Rose of China " ซึ่งมี ทั้งกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อนมาใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ มีการสะสมพันธุ์ และส่งไปประเทศในแถบยุโรป ชบาแพร่เข้าสู่ยุโรปครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2221 โดย Van Reed ซึ่งเป็นชบาสีแดงกลีบดอกซ้อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2275 Philip Miller และคณะได้นำชบาพันธุ์ดอกซ้อนและพันธุ์อื่น ๆ เข้าไปเผยแพร่ในอังกฤษ โดยนำมาปลูกสะสมพันธุ์ที่ The Chelsea Physic Garden และทดลองผลิตลูกผสม แต่ยังไม่แพร่หลายนัก ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hibiscus javanica เพราะเข้าใจว่าชบาที่นำเข้ามาเป็นพืชพื้นเมืองของเกาะชวา ของอินโดนีเซีย ต่อมากัปตันคุกและคณะได้เดินเรือสำรวจหมู่เกาะในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกไปพบชบากลีบดอกซ้อนสีแดงปลูกอยู่ทั่วไป การปลูกชบาในฮาวายมีความนิยมมากว่า 100 ปีแล้ว ในช่วงแรกมีการนำชบาสีแดงกลีบดอกชั้นเดียวจากจีนมาผสมกับพันธุ์พื้นเมืองของฮาวาย และพู่ระหง เพื่อผลิตลูกผสมที่มีลักษณะแปลกใหม่ โดยในปีพ.ศ.2457 GERNIT WILDER เป็นบุคคลแรกที่รวบรวมพันธุ์ชบาและนำมาจัดแสดงได้มากถึง 400 พันธุ์ ในปีต่อมาจึงเริ่มมีผู้ให้ความสนใจและผลิตลูกผสมที่มีรูปร่างและสีสันแตกต่างกันออกมามากมาย จนในปี พ.ศ.2466 มีการออกกฎหมายประกาศให้ชบาเป็นดอกไม้ประจำ นับเป็นอีกก้าวหนึ่งของการพัฒนาชบาพันธุ์ลูกผสม ๆ โดยนักปรับปรุงพันธุ์อย่างมีประสิทธิภาพ

ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล 320px-Mufurong1
ภาพดอกพุดตาน ดอกไม้สกุลของชบา

ประวัติดอกชบาในไทย
สำหรับการเข้ามาสู่ประเทศไทยของชบานั้นไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเมื่อใด แต่ก็มีเรื่องราวของดอกพุดตาน [ Hibicus mutabilis ] ซึ่งเป็นพืชในสกุลชบาปรากฏอยู่ในหนังสือไตรภูมิพระร่วง วรรณกรรมสมัยสุโขทัย กล่าวถึงการใช้ดอกพุดตานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ( เป็นสัญลักษณ์ของการผลัดแผ่นดิน เพราะดอกพุดตานจะเปลี่ยนสีไปตามอุณหภูมิของวันนั่นเอง) จึงน่าเชื่อได้ว่าจะมีการปลูกเลี้ยงพืชสกุลชบาในประเทศไทยกันแล้วในสมัยสุโขทัยและสันนิษฐานว่าคงจะนำเข้าจากประเทศจีนที่มีการติดต่อค้าขายกันอยู่ในสมัยนั้น นอกจากนี้ในสมัยโบราณคนไทยยังมีประเพณีและความเชื่อที่ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียในด้านที่ไม่เป็นมงคลแต่นำมาปรับให้เข้ากับคามเป็นไทย เช่น กฎหมายตราสามดวง สมัยรัชกาลสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ที่ทรงโปรดให้รวบรวมชำระ ขึ้นจากกฎหมาย สมัยกรุงศรีอยุธยามี ปรากฏการใช้ดอกชบาใน พระไอยการ ลักษณะผัวเมีย ใช้ดอกชบาในการประจาน "ผู้หญิงอันร้าย" หรือ"ผู้หญิงแพศยา" ตัวอย่างเช่น มาตรา 6..."ส่วนหญิงอันร้ายให้เอาเฉลวประหน้า ทัดดอกชบาแดงทั้ง 2 หู ร้อยดอกชบาแดงเป็นมาลัยใส่ศีรษะใส่คอ แล้ว ให้เอาหญิงนั้นเข้าเทียมแอกข้างหนึ่งชายชู้เทียมแอกข้างหนึ่ง ประจานด้วย ไถนา 3 วัน..."หรือ มาตรา 7 "หญิงใดทำชู้นอกใจผัว มันเอาชายชู้นั้นมาร่วมประเวณีในวันเดียวสองคนขึ้นไป ท่านว่าเป็นหญิงแพศยา...ให้เอาปูนเขียนหน้าหญิงร้ายนั้นเป็นตารางร้อยดอกชบาเป็นมาลัยใส่ศีรษะ ใส่คอ แล้วเอาขึ้นขาหย่างประจาน..." น่าสังเกตว่า ดอกชบาที่ใช้ในมาตรา 6 นั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นดอกชบาแดงส่วนในมาตรา 7 ไม่บอกสี (อาจจะใช้สีอื่นได้) และไม่ต้องทัด 2 หู แต่ต้องขึ้นขาหย่างประจานแทนการเทียม แอกไถนา ดอกชบาใช้ในการลงโทษผู้หญิง ประเภท "ร้าย" หรือ "แพศยา" จึง ทำให้คนไทยไม่นิยมดอกชบา ในวรรณคดีสมัยอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ตอนต้น แทบจะไม่กล่าวถึงดอกชบาเลย ยกเว้นบทละครเรื่อง พระศรีเมือง และสังข์ทอง ฐานะของดอกชบาในบทละครทั้ง 2 เรื่องก็ไม่ได้รับการชื่นชมอะไร ตรงข้ามกลับเป็นดอกไม้ ของคนป่าบ้าใบ้ (เงาะป่า) ในเรื่องสังข์ทอง เพราะใช้ล่อเจ้าเงาะเข้าวังให้นางรจนาเลือกคู่เท่านั้น แต่ในปัจจุบันความเชื่อนี้ได้ลดน้อยลงจนแทบไม่เห็นร่องรอยเดิม ขณะเดียวกันก็มีความเชื่อที่เป็นสิริมงคลเกี่ยวกับชบา เช่น คนปีกุนที่ปลูกบ้านใหม่จะใช้ดอกชบาและใบทองพันชั่งวางก้นหลุมรองเสาเอกของบ้าน เพราะเชื่อว่าจะทำให้เจ้าของบ้านร่ำรวย จึงกล่าวได้ว่า ชบาเป็นพืชที่มีความผูกพันกับคนไทยมาช้านาน นิยมนำมาปลูกประดับบ้าน เพราะดูแลรักษาง่ายและออกดอกสวยงามตลอดปี

ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล 320px-Spain%2C_autumn_2011_097
การนำชบาใช้ในสัญลักษณ์
- ดอกชบายังเป็นดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี
- ดอกไม้ประจำชาติมาเลเซีย
- ดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ส่วนในศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นดอกไม้ของเจ้าแม่กาลี

ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล 320px-Hibiscus_from_Kerala%2C_India_10
สรรพคุณทางยาของดอกชบา
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก

ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล 320px-Rose_Hibiscus
จาก
en.wikipedia.org
gotoknow.org
th.wikipedia.org
www.dicts.info
www.doctor.or.th
www.thainame.net
www.tjorchid.com
ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล 320px-Hibiscus_Yellow
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ดอกชบา จากดอกไม้อัปมงคลสู่ดอกไม้มงคล
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: