วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย   จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย EmptySat Oct 20, 2012 10:55 am

จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย Shennong
พระเจ้าเสินหนงผู้คนพบชา

ประวัติชาจีน
ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมีแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อน ค.ศ. ชาได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดิจีนในช่วงยุคยุคผู้ปกครองทั้งห้า นามว่า เสินหนง (2737 - 2699 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 ของจีน (ในช่วงประวัติศาสตร์จีนยุคโบราณ) พระองค์เป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร รักความสะอาดมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก อีกตำนาน เล่าว่า ขณะที่เสินหนงฮ่องเต้ทรงกำลังทดลองสรรพคุณของสมุนไพรต่างๆ ด้วยพระองค์เองอยู่นั้น พระองค์ทรงค้นพบว่าสมุนไพรบางชนิดเป็นพิษ แต่ชาก็เป็นยาถอนพิษนั้นได้ นี่เป็นที่ของวัฒนธรรมการดื่มชาของชาวจีนและวัฒนธรรมต่างๆ ทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน และการค้นพบชายังนำไปสู่การค้นพบผ้าไหมในเวลาต่อมา เนื่องจากมีหนอนไหมตกลงมาชาของฮองเฮา  affraid

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่3ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อยๆ

ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่นคือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมา กระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ

สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906)
สมัยราชวงศ์ถัง ชาได้รับการยกย่องให้เป็นเครื่องดื่มแห่งชาติ ควบคู่ไปกับศิลปะภาพวาด บทกวี และการเล่นหมากรุก ตลอดจนศิลปะการต่อสู้ สมัยนี้ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ จากชา ซึ่งอดีตเคยดื่มเพื่อเป็นยา กลายมาเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มกันมากในชนชั้นขุนนาง และปัญญาชน สมัยถัง เราสันนิษฐานได้ว่าการดื่มชาได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในทุกชนชั้น ตั้งแต่นั้นมาชาเป็นที่นิยมและดื่มกันในปริมาณที่มากขึ้นจนกลายมาเป็นเครื่องดื่มประจำชาติ และในสมัยราชวงศ์ถังยังเป็นสมัยที่มีการเผยแผ่วัฒนธรรมจีนไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม ส่งผลให้วัฒนธรรมการดื่มชายิ่งแพร่หลายเป็นที่รู้จักในประเทศเพื่อนบ้านของจีนมากยิ่งขึ้นและนอกจากนี้ยังมีการเผยแผ่การดื่มชาไปยังมองโกล ทาร์ ทาร์ เตริก ทิเบต ฯอกจากนี้ชายังทำให้เห็นว่าสามารถช่วยผู้ที่เป็นโรคขาดผัก และผลไม้

สมัยราชวงศ์ซ่ง (ค.ศ. 960 – 1279)
ชาได้เติมเครื่องเทศแบบใน สมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบางๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ สมัยราชวงศ์ซ่ง ได้ส่งเสริมให้ชากลับมาเป็นที่นิยมเหมือนสมัยถัง ศิลปะของชาได้พัฒนาการมากขึ้นโดยฮ่องเต้ ฮุ่ยจง (1101-1125) นับเป็นอันดับสามของประวัติศาสตร์ชา ที่มีความสำคัญ อย่างไรก็ตาม ชายังเป็นที่นิยมให้เห็นในรูปแบบต่างๆ เช่นคล้ายขนมเปี๊ยะ,ใบชาล้วน เหมือนที่มีอยู่ในปัจจุบัน จนกลายมาเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มี การรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรปซึ่งต่อมาวัฒนธรรมการดื่มชา ก็แพร่หลายเข้าไปในยุโรป อย่างอังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ฯลฯ การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาดำ ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วย โดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้ สมัยราชวงศ์หมิงได้ส่งเสริมและพัฒนาโดยผ่านสถาบันการบริหารจัดการของรัฐที่เรียกว่า ที แอนด์ ฮอดส์ บูเออร์ โดยรัฐมีบทบาทสำคัญสำหรับเศรษฐกิจของประเทศ ด้วยการส่งเสริมความต้องการของชาวเขาตามชายแดน เมื่อมีการส่งเสริมจากทางราชสำนักจึงทำให้สินค้ามีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งทางการทหารและการเงินโดยมีสำนักพระราชวังเป็นผู้รับผิดชอบในการค้าขายแลกเปลี่ยนชา ภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ระดับสูง จนถึงสิ้นสุดสมัยหมิง ชาจึงแพร่หลายสู่ยุโรป

สมัยราชวงศ์ชิง (1644-1911)
วัฒนธรรมของหมิง ถูกควบคุมดูแลบริหารจัดการโดยรัฐบาลแมนจูภาษีชาในอดีตได้ถูกยกเลิกเพราะว่า ชากลายเป็นสิ่งบริโภคที่จำเป็นสำหรับคน เหมือนกับ ซอสถั่วเหลือง, ข้าว, และเกลือ จึงทำให้ได้รับการยกเว้นภาษี
จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย 320px-Thai_iced_tea
ภาพชาไทย (ชาเย็น)

ประวัติชาไทย
คำว่าชามาจากภาษาจีนกลางจากคำว่า ฉา (茶 chá) ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่ม ชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใดแต่จาก จดหมายเหตุ เดอ ลาลูแบร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขกการดื่มชา ของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ ต่อมาประเทศไทยเริ่มมีการปลูกชาเป็นพืชเศรษฐกิจ เกิดชาในรูปแบบใหม่อย่าง ชาชัก ชาไทย ชาไข่มุกและเกิดนาฏศิลป์ ระบำเก็บใบชา เกิดขึ้น



ประวัติระบำเก็บใบชา
ระบำเก็บใบชา เป็นนาฏศิลป์ไทยทางภาคเหนือ ที่แสดงวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของการเก็บใบชา นาฏศิลป์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2523 โดย นักศึกษาระดับปริญญาของวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ในการควบคุมของนางสาวปราณี สำราญวงศ์ หัวหน้าภาควิชานาฏดุริยางค์คีตศิลปศึกษา ได้ร่วมกันประดิษฐ์ท่ารำและทำนองเพลงระบำชุดนี้ขึ้น  เพื่อนำออกแสดงเป็นผลงานการบรรเลงดนตรีและการแสดงนาฏศิลป์ ณ โรงละครแห่งชาติ ลีลาและลักษณะการแสดงสะท้อนให้เห็นถึงกรรมวิธีในการเก็บใบชาของชาวเขา โดยเริ่มตั้งแต่เช้าตรู่ ออกเดินทางไปเก็บใบชา  ซึ่งได้ปลูกไว้ตามไหล่เขา ต่อจากนั้นนำมาเลือกใบและผึ่งแดด ขณะที่รอให้ใบชาแห้งต่างก็รื่นเริงสนุกสนานกับจวบจนเวลาเย็น แล้วจึงนำเอาใบชาเดินกลับบ้าน ประพันธ์เพลง โดย นายปกรณ์  รอดช้างเผื่อน

คลิปชาชักในไทย เพลงประกอบคือเพลง Dikir Puteri แปลว่าอะไรนั้นเดี๋ยวจะไปเปิดพจนานุกรมภาษามาเลเซียคราวหน้า เป็นเพลงของประเทศมาเลเซียที่ดังมากเพลงหนึ่ง

ประวัติชาชัก ชานี้มาจากมาเลเซีย
ชาชักเป็นชาของชาวมุสลิมที่มาจากทางภาคใต้โดยมาจากประเทศมาเลเซีย และแพร่หลายจนเป็นที่รู้จักกัน ชาชักเข้ามาเมืองไทยตอนไหนแต่คาดว่าคงไม่นานมานี้เอง Teh Tarik หรือ เตฮ์ ตาเระ สำเนียงเสียงถิ่นมลายูที่เรียกขาน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ ชาชัก เชื่อกันว่าการดื่มชาและร้านน้ำชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน คนตะวันตก เรียกชาว่า "ที" (Tea) ซึ่งเชื่อว่ามาจากภาษาจีนพื้นเมืองที่เรียกชาว่า "เต๊" (tay) ออกเสียงเป็น "เท" แล้วเพี้ยนกันมาเรื่อยๆ จนกลายเป็น "ที" ส่วนชาวมาเลย์นั้นเรียก "teh" ออกเสียงว่า "เตฮ์" จะเห็นว่าล้วนมีการออกเสียงที่คล้ายๆ กัน ชาชักเป็นกระบวนการชงชานมให้เกิดฟองโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี แต่มาจากสองแขนที่แข็งขัน สลับรับ-ส่งส่วนผสมในกระบอกชงให้ตรงจังหวะ ตามแรงโน้มถ่วงของโลกให้กลายเป็น “ชา” (เตฮ์) ที่ถูก “ชักกะเย่อ” (ตาเระ) ที่มีรสละมุนของฟองนมตามแบบฉบับการชงชาที่พบในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าประเทศใดเป็นต้นแบบในการชง "ชาชัก" แต่พบว่ามีร้านชาชักอยู่ทั่วไปทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย  สิงคโปร์และภาคใต้ของไทยจนเป็นที่รู้จักในไทยทั่วไป ส่วนกรรมวิธีในการชงชาชักนั้นเป็นการใช้ส่วนผสมระหว่างชาสำเร็จรูปกับนมข้น และนมสด หรือนมแพะ ชงกับน้ำร้อนเดือด และต่อมาคนไทยก็นำชาชักที่แต่เดิมคนมาเลเซียชักชาอย่างเดียว คนไทยก็เริ่มประยุกต์ด้วยการชัก นม กาแฟ โกโก้ เพิ่มมาอีกด้วย

คลิปนี้ชาชักของประเทศมาเลเซีย Teh Tarik

ตำนานชาชักของไทย
ตำนาน "ชาชัก" เล่าขานกันว่า เกิดจากชายหนุ่มชายไทยมุสลิม ที่เกิดอยู่ใกล้ตะเข็บชายแดน เขาใฝ่ฝันที่จะเป็นเจ้าของร้านน้ำชา อยากมีงานทำ จึงเดินทางข้ามไปหางานทำในประเทศมาเลเซีย ที่ร้านน้ำชาแห่งหนึ่ง ณ ที่นั้นเขาได้พบกับลูกสาวแสนสวยของเจ้าของร้านก็เกิดความรัก แต่ก็ถูกกีดกันโดยพ่อแม่ของสาวเจ้า พร้อมทั้งคำสบประมาทแถมท้ายว่า "รอให้ชักชาได้ไม่ขาดสาย และฟาดโรตีให้เหมือนผีเสื้อบิน เหมือนที่พ่อของหญิงคนรักทำได้เสียก่อนแล้วค่อยมาสู่ขอลูกสาว" ด้วยแรงรักและความมุมานะ ที่อยากจะลบคำสบประสาท ทำให้เขาเพียรพยายามฝึกฝน การชักชาและฟาดโรตีด้วยความเพียรพยายามจนกระทั่งในที่สุด ความพยายามของเขาก็ทำให้เขาประสบความสำเร็จ จึงกลายเป็นชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่มีฝีมือในการชักชาได้สวยงามและไม่ขาดสาย ฟาดโรตีได้แผ่กว้างและบินว่อน เสมือนท่วงทำนองขยับปีก ของผีเสื้อที่สวยงาม ในที่สุดเขาก็สามารถชนะใจพ่อแม่ของสาวคนรักและได้ครองคู่อยู่กับเธออย่างมีความสุข และชายหนุ่มได้สัญญากับสาวคนรักในคืนนั้นว่า "พี่จะรักเธอให้เหมือนกับสายน้ำชา ซึ่งจะไม่มีวันขาดสาย" นี่คือที่มาของเครื่องดื่มชักกะเย่อ...ตำนานสายใยแห่งความรัก

จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย 167px-Pearl_Milktea
ภาพชานมไข่มุกของไต้หวัน

ประวัติชาไข่มุกหรือชานมไข่มุก ชายอดนิยมจากไต้หวัน
ชานมไข่มุกมีต้นกำเนิดจากประเทศไต้หวัน ชื่อภาษาจีนว่า “จูเจินหน่ายฉา”  (珍珠奶茶zhēnzhū nǎichá) แปลวตามตัวว่าชานมไข่มุกนั่นเอง แต่เดิมพ่อค้าแม่ขายในตลาดสดในไต้หวันได้นำแป้งมันสำปะหลังมาทำให้ชื้น แล้วนำตระแกรงมาล่อน จนกลายเป็นเม็ดสาคูสีดำขึ้นมา แล้วก็ลองนำมาต้มสุกเพื่อใส่ไว้ในชานม พอถึงฤดูร้อนก็ทำชานมเย็น แล้วก็ ใสเม็ดสาคูนี้ลงไป จึงทำให้เกิดที่มาของเครื่องดื่มยอดฮิต ชานมไข่มุกในปัจจุบัน ในไต้หวันจะมีผู้ทำเม็ดสาคูนี้เป็นแทบทุก บ้าน ต่อมาลูกหลานของพ่อค้าแม่ขายในตลาดจึงนำสาคูนี้มาทำเป็นอุสาหกรรมส่งออกขนาดเป็นธุรกิจพันล้านไปแล้ว ส่วนคนไทยเริ่มรู้จักชานมไข่มุกหรือชาไข่มุก อย่างแพร่หลายเมื่อ ปี พ.ศ. 2544 หรือเมื่อ 11 ปีก่อนนี่เอง ต่อมาชานมไข่มุกเริ่มนำมาใส่ในเครื่องดื่มชนิดอื่น แทนชา เช่น นม โกโก้ กาแฟ หรือใส่เยลลี่เพิ่มเติมลงไปในชานมไ่ข่มุก

จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย 320px-Tea_Plantation_in_Southern_India
ขอขอบพระคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
หนังสือแมลงพิลึก (ให้ข้อมูลเรื่องผ้าไหมกับน้ำชาอ่ะนะ)
bambelle.wordpress.com
en.wikipedia.org
gotoknow.org
th.wikipedia.org
urbanite-diary.blogspot.com
www.gotomanager.com
www.learnthaiculture.com
www.thaibizcenter.com
www.thaionlinebusiness.com
www.thaimuslim.com
www.oknation.net
www.youtube.com
zh.wikipedia.org
www.teabynature.com
จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย A_009
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
จากชาจีนสู่ชาไทยไปวัฒนธรรมไทย
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: อาหาร เครื่องดื่ม ขนมจากต่างแดน-
ไปที่: