วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน   ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน EmptyMon Jul 08, 2013 10:09 pm

ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน Chuan_sirorot
เจ้าน้อยคำตั๋น ณ เชียงใหม่ (เจ้าชื่น สิโรรส) ผู้ได้รับลำไยจากรุงเทพจากเจ้าดารารัศมี ไปปลูกที่เชียงใหม่ (8 พฤษภาคม พ.ศ. 2439-10 มีนาคม พ.ศ. 2538 รวมอายุได้ 99 ปี)

ประวัติลำไย
ลำไยมาจากภาษาจีนกลางคำว่า หลงเยี่ยน (龙眼 long yăn) แปลตามตัวว่า “ตามังกร”ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นมีถิ่นกำเนิดอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ศรีลังกา อินเดีย พม่า ตั้งแต่ทางใต้ของจีนแถบมณฑลกวางตุ้ง ฟุกเกี้ยน และลิงนาน จนถึง แต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือ RuYa ของจีนเมื่อ 110 ปีก่อนค.ศ.ได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปี พ.ศ.1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปลายพุทธศตวรรษที่ 25ในประเทศไทย ลำไยคงแพร่เข้ามาในประเทศพร้อมๆ กับประเทศในเขตนี้ แต่ไม่ปรากฏหลักฐาน หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญสรรพเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทน์ ถนนสาธุประดิษฐ์ ใกล้วัดปริวาศ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นลำไยที่ขยายพันธุ์มาจากเมล็ดเพาะแสดงว่าลำไยมีในประเทศไทยมาก่อนแล้ว และมีการพัฒนาพันธุ์ตามลำดับตามสภาพภูมิอากาศ มีหลักฐานที่แน่ชัดอีกว่าลำไยเริ่มนำเข้ามาปลูกในประเทศไทยเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2439 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้มีชาวจีนนำกิ่งตอนลำไยมาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จำนวน 5 ต้น ทรงปลูกไว้ที่กรุงเทพฯ 2 ต้น อีก 3 ต้น นั้นต่อมาพระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้นำลำไยจากกรุงเทพฯ ทรงมอบให้พระอนุชา คือ เจ้าน้อยคำตั๋น ณ เชียงใหม่ (เจ้าชื่น สิโรรส) พระญาติสาย ราชวงศ์เม็งราย มาดูแลควบคุมพัฒนาการเกษตร นำไปปลูกที่จังหวัดเชียงใหม่ โดย พระราชชายาฯ ได้ทรงโปรดให้ใช้ พระตำหนักดาราภิรมย์ ณ สวนเจ้าสบาย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่  เป็นแปลงทดลองการเกษตรส่วนพระองค์ขนาดใหญ่ เมื่อลำไยได้ขยายพันธุ์ในจังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นก็ขยายพันธุ์สู่ภูมิภาคต่างๆ ในล้านนา โดยการเพาะเมล็ดจนเกิดการแปรพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสม และเกื้อกูลต่อการเจริญเติบโตของลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปี พ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50 เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปี พ.ศ.2457 จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปี พ.ศ 2511ขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง157,220 ไร่

ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน 162px-Dimocarpus_longan_fruits
ขอขอบพระคุณข้อมูลและรูปภาพจาก
cn.wikipedia.org
pioneer.netserv.chula.ac.th
th.wikipedia.org
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ลำไยผลไม้ไทยไม่น่าเชื่อทั้งชื่อทั้งต้นมาจากประเทศและภาษาจีน
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: พืชพรรณจากต่างแดน-
ไปที่: