วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 ชาวมอญในประเทศไทย

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

ชาวมอญในประเทศไทย Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: ชาวมอญในประเทศไทย   ชาวมอญในประเทศไทย EmptySun Jun 30, 2013 8:39 pm

ชาวมอญในประเทศไทย Shinsawbou
เชงสอบู กษัตริย์หญิงชาวมอญองค์เดียวในประวัติศาสตร์มอญ

ที่มาของคำว่ามอญและรามัญ
นักภูมิศาสตร์อาหรับบางท่านเรียกมอญว่า รามัญประเทศ (Ramannadesa) ซึ่งหมายถึง "ประเทศมอญ" คำนี้เพี้ยนมาจากคำศัพท์โบราณของ"มอญ" คือ Rmen (รามัญ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะของสิงหล ในสมัยพระเจ้าจานสิตาแห่งพุกาม พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย

ชาวมอญในประเทศไทย Bago
กรุงหงสาวดีในปัจจุบัน

ประวัติศาสตร์ชาวมอญในประเทศไทย
มอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ" ต่อมาชนชาติพม่า มีอำนาจเหนืออาณาจักรพยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ เข้ารุกรานมอญ มอญจึงถอยลงมาดังเดิม และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1368 ที่ หงสาวดี (Pegu) ในปี พ.ศ. 1830 "มองโกล" ยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ "พ่อขุนรามคำแหง" ได้กอบกู้เอกราช และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนา "อาณาจักรมอญอิสระ" มีศูนย์กลางที่เมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จากนั้นย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม โดยเฉพาะสงครามในปี พ.ศ. 2300 เป็นสงครามครั้งสุดท้าย ที่คนมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างราบคาบ ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง เท่าที่มีการจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่อ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีหงสาวดีแตกใน พ.ศ. 2082 ชาวมอญจำนวนมากหนีเข้ามากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาชั้นนอก พระยาเกียรติพระยารามและครัวเรือน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองชั้นใน ใกล้พระอารามวัดขุนแสน และเมื่อถึง พ.ศ. 2084 ราชวงศ์ตองอูตีเมืองเมาะตะมะแตก มีการฆ่าฟันชาวมอญลงขนาดใหญ่ ก็เข้าใจว่ามีมอญหนีเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาอีก ถือเป็นระลอกแรกของมอญอพยพ

ครั้งที่ 2 เมื่อพระนเรศวรเสด็จไปพม่าเมื่อคราวพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ แล้วประกาศเอกราช ทรงชักชวนมอญที่เข้าสวามิภักดิ์ ให้อพยพเข้ามาพร้อมกัน ราว พ.ศ. 2127 ในการอพยพครั้งนี้ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ใด แต่คาดว่าคงเป็นย่านเดียวกับการอพยพคราวแรก

ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อหงสาวดีถูกยะไข่ทำลายใน พ.ศ. 2138 ครั้งนี้ก็มีการอพยพใหญ่ของ มอญ มาทางตะวันออกเข้าสู่ดินแดนของกรุงศรีอยุธยาอีก

ครั้งที่ 4 หลังจากที่ราชวงศ์ตองอูย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ หลังจากหงสาวดีถูกทำลายแล้ว พวกมอญ ตั้งอำนาจขึ้นใหม่ในดินแดนของตน ต่อมา ถึงรัชกาลพระเจ้านอกเปกหลุน พม่าจึงยกทัพมาปราบพวกมอญอีกใน พ.ศ. 2156 ทำให้เกิดการอพยพของมอญเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาอีก หลักฐานบางแห่งกล่าวว่า มอญ กลุ่มนี้ได้รับอนุญาตให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามแนวชายแดนไทย

ครั้งที่ 5 ใน พ.ศ. 2204 หรือ 2205 พวกมอญในเมืองเมาะตะมะก่อการกบฎขึ้นอีก แต่ถูกพม่าปราบลงได้ จึงต้องอพยพหนีเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกระลอกหนึ่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ เข้าใจว่ากลุ่มนี้สัมพันธ์กับกลุ่มมอญที่ตั้งอยู่ชายแดน

ครั้งที่ 6 หลังจากที่มอญสามารถตั้งอาณาจักรของตนขึ้นได้ใหม่ในปลายราชวงศ์ตองอู แล้วยกกำลังไปตีกรุงอังวะแตก อลองพญารวบรวมกำลังพม่าแล้วลุกขึ้นต่อสู้จนในที่สุดก็ตั้งราชวงศ์อลองพญาได้ และใน พ.ศ. 2300 ก็สามารถตีหงสาวดีได้อีก นโยบายของราชวงศ์นี้คือ กลืน มอญ ให้เป็นพม่าโดยวิธีรุนแรง จึงมีชาวมอญอพยพหนีมาสู่เมืองไทยอีกหลาย ระลอก รวมทั้งกลุ่มที่หนีขึ้นเหนือไปสู่ล้านนา และเรียกกันว่าพวก “เม็ง” ในปัจจุบันนี้

ครั้งที่ 7 ใน พ.ศ. 2316 ตรงกับแผ่นดินกรุงธนบุรี มอญก่อกบฎในย่างกุ้ง พม่าปราบปรามอย่างทารุณแล้วเผาย่างกุ้งจนราบเรียบ ทำให้มอญอพยพเข้าไทยอีก พระเจ้าตากสินทรงโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มมอญเก่า (พระยารามัญวงศ์) และมอญใหม่ (พระยาเจ่ง) คนที่นับตัวเองเป็น มอญ ในปัจจุบันล้วนอพยพเข้ามาจากระลอกนี้ หรือหลังจากนี้ทั้งนั้น ส่วน มอญ ที่อพยพก่อนหน้านี้กลืนหายเป็นไทยไปหมด แม้แต่กลุ่มที่อยู่ตามชายแดนแถบเมืองกาญจนบุรี

ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2336 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ยึดเมืองทวายได้ แต่รักษาไว้ไม่ได้ ต้องถอยกลับเข้าไทย ก็นำเอาพวกมอญโดยเฉพาะที่เป็นพวกหัวหน้าเข้ามาอีก

ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2357 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อ มอญ ไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระเจดีย์ ก่อกบฎที่เมืองเมาะตะมะ ถูกพม่าปราบ ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่มาก ราว 40,000 คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 4) เสด็จเป็นแม่กองพร้อมด้วยกรมหลวงพิทักษ์มนตรี ออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก (ปทุมธานี) ปากเกร็ด และพระประแดง มอญที่อพยพเข้ามาครั้งนี้เรียกกันว่ามอญใหม่

ชาวมอญในประเทศไทย 4deebe5909cfb
ภาพหงส์สัญลักษณ์ของมอญ

บริเวณที่มีชาวมอญในประเทศไทย
ในปัจจุบันแม้จะไม่มีชุมชนของผู้สืบเชื้อสายมอญภายในกรุงศรีอยุธยาอยู่ในบริเวณที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์แต่ก็ยังมีชุมชนมอญและกลุ่มวัฒนธรรมมอญกระจายอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากพระนครศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงเทพฯหลายชุมชน ชาวมอญได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตกได้แก่ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่ไปทางเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ทางภาคอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยมากเป็นแหล่งที่พระเจ้าแผ่นดินทรงโปรดฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา

ชุมชนมอญในประเทศไทย
มอญบางจะเกร็ง จ.สมุทรสงคราม
มอญบางปลา จ.สมุทรสาคร
มอญบ้านเก่า จ.อุทัยธานี
มอญสลุย จ.ชุมพร
มอญหนองดู่ จ.ลำพูน
บ้านมอญ จ.นครสวรรค์
มอญบางไส้ไก่ กรุงเทพฯ
มอญบ้านโป่ง-โพธาราม จ.ราชบุรี
มอญกระทุ่มมืด จ.นครปฐม
มอญสามโคก จ.ปทุมธานี
มอญบ้านเสากระโดง จ.อยุธยา
คลองมอญ กรุงเทพฯ
สะพานมอญ กรุงเทพฯ
มอญปากเกร็ด จ.นนทบุรี
มอญบางกระดี่ กรุงเทพ
มอญบางขันหมาก จ.ลพบุรี
มอญคลองสิบสี่ (มอญหนองจอก) กรุงเทพฯ
มอญลาดกระบัง กรุงเทพฯ
มอญปากลัด (มอญพระประแดง) จ.สมุทรปราการ
มอญเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
มอญ จ.สมุทรสาคร
มอญเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
มอญปทุมธานี จ.ปทุมธานี

ชาวมอญในประเทศไทย Kaochae
ภาพข้าวแช่ อาหารไทยที่มาจากอาหารของชาวมอญ

บทบาทวัฒนธรรมของมอญในประเทศไทย

เทศกาลประเพณี เช่น ขนทรายเข้าวัด สงกรานต์

ภาษามอญในภาษาไทย เช่น เปิง  (ข้าว)   อืกะ (ปลา) ปลากะตัก  ปลากะพง กรูด  ( มะกรูด )  กระเพรา  มะกอก  มะพร้าว พลู กระวาน ตะโก  มะนาว  กลอย  ขนมจีน บัวลอย  อาจาด ข้าวหลาม กระท่อม    เกวียน  กำปั่น  สำปั้น (เรือ) พราน  พลาย  ร้าน  สะพาน ซอก ตรอก  เกาะ คลอง  ด่าน  หาด  จะเข้  ปี่  ฉาบ  ทอง พลอย   ทวน  แสง  โคม  ชิงช้า  ถุง  เชือก  ลวด ทะลาย  ประเคน  ดินสอพอง กระทะ สวะ

อาหารจากมอญ เช่น ข้าวซอย ข้าวแช่ ขนมจีน

ดนตรีจากมอญ เช่น เปิงมาง จะเข้ ปี่มอญ วงปี่พาทย์มอญ

พืชพรรณจากมอญ เช่นกุหลาบมอญ

ด้านวรรณคดีไทย วรรณคดีไทยที่กล่าวถึงชาวมอญเช่น ขุนช้างขุนแผน หรือวรรณคดีไทยจากมอญเช่น ราชาธิราช

ชาวไทยเชื้อสายมอญที่มีบทบาทในประวัติศาสตร์เช่น
กษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรี (เนื่องจากโกษาปานเป็นทวดของ ร.1 และโกษาปานเป็นลูกเจ้าแม่วัดดุสิตแต่งงานกับขุนนางเชื้อสายมอญ และเป็นเจ้าแม่วัดดุสิต (บัว) เป็นบุตรของพระธิดาองค์หนึ่งของสมเด็จพระเอกาทศรถซึ่งแต่งงานกับพระยารามผู้มีเชื้อสายมอญ)
กันยา เทียนสว่าง (นางสาวไทยคนแรกของไทย)
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช

นามสกุลของผู้ที่มีเชื้อสายมอญอันโด่งดังเช่น
ราชสกุลศิริวงศ์
สกุลกัลยาณมิตร
สกุลบุนนาค
สกุล ณ บางช้าง
สกุล สวัสดิ์-ชูโต
สกุล แสง-ชูโต
สกุลชูโต


ขอขอบพระคุณรูปภาพและข้อมูลจาก
gotoknow.org
pirun.ku.ac.th
www.ava-travel.com
www.atriumtech.com
www.youtube.com
www.oknation.net
thanedautsara.myfri3nd.com/
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
ชาวมอญในประเทศไทย
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ชุมชนชาวต่างชาติในปัจจุบัน-
ไปที่: