วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว   เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว EmptySun Oct 28, 2012 10:46 am

เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว 220px-Van_Drebbel
ภาพเรือดำน้ำของเดรบเบลตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1620
ประวัติเรือดำน้ำสากล
ประวัติของเรือดำน้ำเริ่มขึ้นเมื่อ จากการออกแบบของนายวิลเลียม เบิร์น นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ สร้างโดยนายคอร์เนเลียส เดรบเบล วิศวกรชาวเนเธอร์แลนด์ ตามพระบรมราชโองการของพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ.1620 ด้วยหลัก การง่ายๆ จากความคิดว่าเอาระฆังคว่ำบนผิวน้ำแล้วจะเกิดช่องว่างมีอากาศให้ หายใจได้ ต่อจากนั้นก็พบกับความสำเร็จและล้มเหลวหลายครั้ง แต่ไม่มีการพัฒนา จริงจังเพราะยังไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรนอกจากเป็นของเล่นของพระมหากษัตริย์ ต่อมาเรือดำน้ำเพื่อการทำสงครามลำแรกเป็นรูปร่างขึ้นในปี ค.ศ.1775 ด้วย รูปทรงเหมือนถังเหล้าไม้โอ๊คและชื่อว่า “เต่า” (Turtle) โดยมีพลประจำเรือคน เดียว จากฝีมือการออกแบบของวิศวกรอเมริกันชื่อเดวิด บุชเนล วัตถุประสงค์แรกเริ่มคือเคลื่อนที่ด้วยตัวเองเข้าไปใกล้เรือผิวน้ำของ อังกฤษ ได้จังหวะก็ใช้สกรูหัวเรือเจาะใต้ท้องเรือติดระเบิด เหยื่อของเรือดำน้ำลำแรกของโลกคือเรือหลวงอีเกิล (HMS Eagle) เรือธงของอังกฤษระหว่างปิดล้อมอ่าวนิวยอร์ก ในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.1776 ระหว่างสงครามอิสรภาพจากการปกครองของอังกฤษ โชคดีของอังกฤษที่เอสรา ลี ผู้ควบคุมเรือเจาะท้องเรือไม่สำเร็จเพราะกระแสน้ำแรง ส่วนเรือดำน้ำทรงซิการ์รูปร่างเหมือนหรือคล้ายคลึงกับเรือดำน้ำในยุคสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2ภาย หลัง เกิดจากการออกแบบของนายวิลเฮล์ม เบาเออร์นักออกแบบชาวเยอรมัน ด้วยชื่อเรียกในภาษาเยอรมันว่า “บรันด์เทาเคอร์ ”(Brandtaucher) เอากุสต์ โฮวัลท์ วิศวกรชาติเดียวกัน เป็นคนสร้าง มันขับเคลื่อนด้วยแรงลูกเรือ 3 นายที่เกือบตายหวุดหวิดเพราะแล่นไปได้ไม่ไกลก็จม แนวความคิดจากเทอร์เทิลและบรันด์เทาเคอร์ถูกพัฒนา เมื่อมนุษย์เล็งเห็นคุณประโยชน์ ของมันในการทำสงคราม ระหว่างสงครามกลางเมืองของสหรัฐ เรือดำน้ำ เอช.แอล ฮันลีย์ (H.L Hunley) ของฝ่ายใต้ติดหลาวมีปลายระเบิดกับหัวเรือ แล่นเข้าจมเรือ ยู.เอส.เอส. ฮูซาโทนิก(U.S.S.Housatonic) ของฝ่ายเหนือสำเร็จเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ.1864 บริเวณท่าเรือเมืองชาร์ลสตัน หลังจากพยายามมาแล้ว 2 ครั้งแต่ล้มเหลว ลูกเรือ 8 คนต้องสังเวยชีวิตไปครึ่งลำรวมทั้งโฮเรซ ลอว์สัน ฮันลีย์คนออกเงินสร้างที่จมไปพร้อมกับเรือในความพยายามครั้งที่ 3 เรือดำน้ำ ยุคแรกยังไม่มีพิษสงมากพอจะตัดสินผลแพ้ชนะสงครามทางทะเลได้ เพราะเทคโนโลยียังไม่เอื้ออำนวย จนกระทั่งโลกก้าวเข้าสู่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม มีเครื่องยนต์สันดาปภายในและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใช้โฉมหน้าของเรือดำน้ำจึงเปลี่ยนไป
จอห์น ฟิลลิป ฮอลแลนด์นักประดิษฐ์ชาวไอริช ออกแบบเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ดีเซลได้สำเร็จเมื่อปี ค.ศ.1896 มัน แล่นด้วยเครื่องยนต์ลอยปริ่มน้ำเวลาเดินทาง แล้วดำแล่นเข้าหาเป้าหมายด้วย พลังขับเคลื่อนจากแบตเตอรี่ก่อนโจมตี เรือฮอลแลนด์ 6 (Holland VI) ถูกปล่อยลงน้ำที่ท่าเรือเมืองนิวเจอร์ซีย์ ในวันที่ 17พฤษภาคม ปี ค.ศ.1897 หลังจากนั้นกองทัพเรือสหรัฐก็รับมันเข้าประจำการด้วยรหัสว่ายูเอส เอส ฮอลแลนด์ (SS-1) เป็นเรือดำน้ำประจำการลำแรก ลิขสิทธิ์ของฮอลแลนด์ถูกซื้อไป สร้างเรือดำน้ำทั้งในอังกฤษ, รัสเซียและญี่ปุ่น ต่างทยอยส่งเรือดำน้ำแบบของ ตัวเข้าประจำการระหว่างปี ค.ศ.1900-1905 (สำหรับญี่ปุ่นนั้นสายเกินกว่าจะนำมา ใช้ในยุทธนาวีรัสเซีย-ญี่ปุ่นในค.ศ.1905) เรือดำน้ำยังไม่มีโอกาสออกศึกจริงจังจนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1และมาโดด เด่นในอีก20กว่าปีหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่2ระเบิดขึ้นในยุโรป จนในปัจจุบันเรือดำน้ำได้ถูกนำมาสำรวจใต้ทะเล
เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว Subdock_1
ประวัติเรือดำน้ำในสยาม
เรือดำน้ำได้อยู่ในแนวความคิดของกองทัพเรือไทยมาตั้งแต่ พ.ศ.2453 แล้ว ผู้ออกแบบเรือดำน้ำคนแรกของไทยคือ สมเด็จพระบรมราชชนก (สมเด็จพระมหิศทราธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก-พระนามเดิม เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์) ภายหลังจากที่ สภาผู้แทนราษฎร ได้อนุมัติ พระราชบัญญัติบำรุงกำลังทางเรือ พ.ศ. 2478 และอนุมัติงบประมาณ จำนวน 18 ล้านบาท โดยจ่ายจากงบประมาณประจำปี ปีละ 1 ล้านบาท เป็นเวลา 6 ปี นอกนั้นจ่ายจากเงินคงคลัง กองทัพเรือก็ได้ทำการจัดหาเรือดำน้ำตามความต้องการทันที ซึ่งในที่สุด คณะกรรมการได้ตกลงใจเลือก เรือดำน้ำขนาด 370 ตัน ของประเทศญี่ปุ่น และก็ได้เจรจาซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมจากญี่ปุ่นอีก เช่น ถังหนีภัย และอุปกรณ์การหนีภัยจากเรือดำน้ำ ตลอดจนการฝึกกำลังพลประจำเรือดำน้ำ และแล้ว เรือดำน้ำสัญชาติไทยคู่แรก คือ ร.ล.มัจฉานุ และ ร.ล.วิรุณ ก็ได้วางกระดูกงู เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 และทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2479 โดยมี พระมิตรกรรมรักษา อัครราชฑูตไทยประจำประเทศญี่ปุ่น ในขณะนั้น เป็นประธานในการปล่อยเรือลงน้ำ และเรือได้สร้างเสร็จบริบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองเมืองไทยก็ไม่มีเรือดำน้ำในการสงครามอีกเลย นอกจากเรือดำน้ำภิรมย์นำเที่ยวที่พัทยาเท่านั้น
เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว 300px-เรือหลวงมัจฉาณุ-เรือหลวงวิรุณ
ภาพเรือหลวงมัจฉานุกับเรือหลวงวิรุณ เรือดำน้ำคู่แรกแห่งสยาม

ตัวอย่างภาพยนตร์เกี่ยวกับเรือดำน้ำ
เรื่อง Das boot

เรื่อง K-19

เรื่อง The red October

เรื่อง U571

จาก
en.wikipedia.org
th.wikipedia.org
zedth.exteen.com
www.deksawi.com
www.navy.mi.th
www.youtube.com
คลิปพาไปเที่ยวเรือดำน้ำภิรมย์ ถ้าอยากไปนั่งเรือดำน้ำชมโลกใต้ท้องทะเลจริงๆ ในไทย
นับว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวนั่งชมเรือดำน้ำชมโลกใต้ท้องทะเลแห่งเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ^0^

ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
เรือดำน้ำในสยาม จากใช้การทำสงครามสู่การนำเที่ยว
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ยานพาหนะจากต่างแดน-
ไปที่: