วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyWed Apr 24, 2013 7:53 pm

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 206px-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%90
(ภาพพระพุทธรูปสมัยเริ่มต้น)

แต่เดิมนั้นพุทธศาสนาไม่มีรูปเคารพแต่อย่างใด ศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดู ซึ่งมีมาก่อนศาสนาพุทธ ก็ไม่มีรูปเคารพเป็นเทวรูปเช่นกัน หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา อยากจะมีสิ่งที่จะทำให้รำลึกถึง หรือเป็นสัญญลักษณ์ขององค์ศาสดา เพื่อที่จะบอกกล่าวเล่าขาน เรื่องราวขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ทรงศึกษาค้นคว้าหาทางดับทุกข์ และทรงชี้แนะสอนสั่งผู้คน ถึงการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความเป็นอยู่ ที่ก่อให้เกิดความผาสุกในหมู่มวลมนุษย์และสิ่งมีชีวิตในโลก
คราวแรกนั้นชาวพุทธก็ได้แต่นำเอาสิ่งของอันได้แก่ ดิน น้ำ และกิ่ง ก้าน ใบโพธิ์ จากบริเวณสังเวชนียสถาน 4 แห่ง คือ สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน),ตรัสรู้ (พุทธคยา), ปฐมเทศนา (สารนาถ) และปรินิพพาน (กุสินารา) เก็บมาไว้เป็นที่ระลึกบูชาคุณพระพุทธเจ้า
ล่วงมาถึงในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พุทธศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่ง เมื่อ 2,200 ปีก่อน หรือหลังจากการดับขันธ์ของพระพุทธเจ้ามา 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งสมณะทูต จำนวน 500 รูป ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาราฐ จึงมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองที่ประสิทธิประสาทวิทยาการต่าง ๆ นับว่า "เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกทางพระพุทธศาสนา" แต่ก็ยังไม่มีรูปเคารพแทนพระพุทธเจ้าที่เป็นรูปคน

พระพุทธรูป หรือ รูปเคารพแทนพระพุทธเจ้า เริ่มมีการสร้างขึ้นมาตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ. 500 ถึง 550 เมื่อชาวกรีก ที่ชาวชมพูทวีป (อินเดียโบราณ) เรียกชาวต่างแดนว่า "โยนา" หรือ "โยนก" โดยพระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 หรือ พระยามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ยกทัพกรีกเข้ามาครอบครองแคว้นคันธาราฐ (ปัจจุบันเป็นดินแดนของอัฟกานิสถาน) จากนั้นพระองค์ก็แผ่อาณาเขตไปทั่วบริเวณด้านตะวันตกเฉียงเหนือของชมพูทวีป และสร้างเมืองหลวงเป็นที่ประทับ ณ เมืองสากล (Sakala) หลังจากที่ได้พบพระสงฆ์ท่านหนึ่งนามว่า นาคเสน จึงมีเรื่องราวแห่งการตั้งคำถามของพระเจ้ามิลินท์ต่อพระนาคเสน จนทำพระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา (คำถามคำตอบปุจฉาวิสัชนา ซึ่งถูกเขียนบันทึกเป็นหนังสือและแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก เรื่องนี้ก็คือ มิลินทปัญหา - The Milinda Panha or The Questions of King Minlinda) ได้มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมทางพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปนั้นมีลักษณะต่างๆ ตามพุทธประวัติ (ปางพระพุทธรูป)

พระพุทธรูปรูปแรกจึงเกิดขึ้นในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ หรือเมนันเดอร์ที่ 1 ชาวกรีกที่มาครอบครองแคว้นคันธาราฐ เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 6 หรือ 2,000 ปีที่แล้วนั่นเอง พระพุทธรูปที่เกิดขึ้นครั้งแรกจึงเรียกรูปแบบของพระพุทธรูปนี้ว่า แบบคันธาราฐ โดยถ่ายแบบอย่างเทวรูปที่พวกชาวกรีกนับถือกันในยุโรปมาสร้าง พระพุทธรูปแบบคันธาราฐจึงมีใบหน้าเหมือนฝรั่งชาวกรีก จีวรก็เป็นริ้วเหมือนเครื่องนุ่งห่มของเทวรูปกรีก และต่อมาในภายหลัง ราวพุทธศตวรรษ ที่ 4-12 มีคตินิยมสร้างพระพุทธรูปเป็นขนาดเล็กๆ (พระเครื่อง) บรรจุไว้ในพุทธเจดีย์

ตอนต่อไปจะกล่าวถึงพระพุทธรุปสมัย ทวารวดีนะครับ

จาก
th.wikiepdia.org


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Tue Apr 30, 2013 1:28 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปสมัยทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 12-16)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyFri Apr 26, 2013 9:18 pm

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 348px-Buddha_dvaravatistyle

ลักษณะพระพุทธรูปได้รับแรงบันดาลใจมาจากศิลปะอินเดียคือ ศิลปะอมราวดี ศิลปะคุปตะ ศิลปะหลังคุปตะ และศิลปะปาละ ที่ มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ ศิลปะคุปตะ เช่น การครองจีวรห่มคลุม จีวรเรียบไม่มีริ้ว การ ยืนเอียงตนแบบตริภังค์ คือ การยืนเอียงตน ทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ พระอังสา (ไหล่) พระโสณี (สะโพก) และพระชงฆ์ (ขา) ต่อมาได้พัฒนารูปแบบให้เป็นแบบพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น เช่น พระพักตร์กลมแป้น พระขนงต่อกันเป็นรูปปีกกา พระนาสิกแบน พระโอษฐ์หนาแบะ พระพุทธรูปประทับยืนตรง ไม่ทำตริภังค์ และนิยมแสดงปางวิตรรกะ (ทรงแสดงธรรม) ทั้ง 2 พระหัตถ์ อันเป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นในศิลปะทวารวดีโดยเฉพาะ นอกจากนั้น ยังได้พบพระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ ที่นิยมขัดสมาธิราบอย่างหลวมๆ (พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย เห็นฝ่าพระบาทเพียงด้านเดียว) อันมีที่มาจากอิทธิพลของศิลปะอมราวดี ต่อมามีอิทธิพลของศิลปะปาละเข้ามา เช่น การทำพระพุทธรูปขัดสมาธิเพชร (การนั่งขัดสมาธิที่เห็นฝ่าพระบาททั้ง 2 ข้าง) ในช่วงสุดท้ายของศิลปะทวารวดีมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปะปนอยู่ด้วย ก่อนที่ศิลปะทวารวดีจะค่อยๆ เสื่อมไป และมีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาแทนที่

พระพุทธรูปสมัยนี้ที่ได้พบแล้ว มี 8 ปางด้วยกัน คือ

1.ปางปฐมเทศนา ปางนี้ทำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กด้วยศิลาและโลหะ มีทั้งอย่างนั่งห้อยพระบาท และนั่งขัดสมาธิ

2.ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ ควรสังเกตไว้อย่างหนึ่งว่า การขัดสมาธิของพระสมัยนี้ผิดกับสมัยอื่นๆ คือขัดหลวมๆ บางทีพอฝ่าเท้าซ้อนกันเท่านั้น และบางรูปแปลกมากๆ คือขัดปลายเท้าเสียบลง จนเห็นก้นเผยอขึ้น

3. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ปางนี้มีน้อยพบแต่ทำด้วยโลหะ

4. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

5. ปางมหาปาฏิหาริย์ พบแต่ทำด้วยศิลา

6. ปางประทานอภัย ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

7. ปางประทานพร พบแต่ทำด้วยศิลา

8. ปางโปรดสัตว์ ( คือพระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์ท่าแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายหงายฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้า ในท่าประทานพร ) พบแต่ทำด้วยโลหะ

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก L29-55

จาก
th.wikipedia.org
kanchanapisek.or.th


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Fri Apr 26, 2013 9:25 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-15)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyFri Apr 26, 2013 9:24 pm

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Chaiya9
(ภาพพระพุทธรุปสมัยศรีวิชัยอิทธิพลเขมร)

เป็นศิลปะที่พบทางภาคใต้ เป็นประติมากรรมพุทธศาสนาแบบมหายาน พบรูปพระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป ลักษณะศิลปกรรมได้ รับอิทธิพลจากอินเดียสมัยคุปตะ หลังคุปตะ และปาละ - เสนะ มีลักษณะคล้ายคลึงกับศิลปกรรมใน อาณาจักรศรีวิชัยอยู่ทางภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่ชวาภาคกลาง และมีอาณาเขตมาถึงทางภาคใต้ของไทยมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุ สมัยศรีวิชัยอยุ่มากมายทั่วไป โดยเฉพาะที่เมืองไชยา จ.สุราษฎร์ธานีนิยมสร้างรูป
พระโพธิสัตว์มากกว่าพระพุทธรูป เนื่องจากสร้างตามลัทธิมหายานพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัยมีลักษณะสำคัญ
คือ พระวรกาย อวบอ้วนได้ส่วนสัด พระโอษฐ์เล็กได้สัดส่วน พระพักตร์คล้ายพระ พุทธรูปเชียงแสน นอกจากนี้ยังพบ การสร้างพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระพุทธรูปรุ่นแรกๆ ที่พบมีอิทธิพลของศิลปะ อมราวดีและศิลปะคุปตะจากอินเดียปะปนอยู่ ต่อมาจึงมีลักษณะพื้นเมืองมากยิ่งขึ้น และในตอนปลายช่วงพุทธศตวรรษที่ 17-18 ได้มีอิทธิพลของศิลปะเขมรเข้ามาปรากฏ เช่น พระพุทธรูปนาคปรก พบที่เมืองไชยา หล่อขึ้น ใน พ.ศ. 1726

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย

         เกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี แต่ขมวดพระเกศเล็กละเอียดกว่าสมัยทวารวดี โดยมากมีไรพระศก แต่ถ้าไม่มีไรพระศกมักมีอุณาโลมในระหว่างพระโขนง และมีใบโพธิ์ติดที่พระเกตุมาลา พระนลาตเรียบ พระโขนงโก่ง พระพักตร์แบนเหมือนสมัยทวารวดี แต่พระหนุไม่ป้านเหมือนสมัยทวารวดี พระโอษฐ์ไม่แบะ สังฆาฏิยาวลงมาใต้พระถัน บัวรองฐานกลีบใหญ่ มีส่วนกว้างมากกว่าของสมัยทวารวดี กับมีกลีบเล็กแซมตั้งแต่ ๑ ถึง ๓ กลีบ เกสรละเอียด พระหัตถ์และพระบาทมักทำได้ส่วนกับพระองค์ ไม่ใหญ่เหมือนของสมัยทวารวดี ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วด้วย แต่ต่างกับของสมัยทวารวดีซึ่งมักทำเป็นเก้าอี้ สมัยนี้มักทำเป็นรูปใบโพธิ์และมียอดเป็นฉัตร ถ้าเป็นพระยืนบางทีไม่มีชายจีวรเลย ที่มี ๒ ข้างและข้างเดียวเหมือนสมัยทวารวดีก็มี

         พระพุทธรูปสมัยนี้มีน้อย มีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นคติมหายานซึ่งนับถือพระโพธิสัตว์เป็นสำคัญ มักได้พบทางปักษ์ใต้ มีจังหวัดสุราษฎร์ นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น ทางเหนือเคยได้พบบ้างในจังหวัดมหาสารคาม แต่เป็นของขนาดเล็กซึ่งบางทีอาจเป็นเพราะมีผู้พาเอาไปไว้ภายหลังก็เป็นได้ เท่าที่ได้พบมาแล้วมี 6 ปางคือ

     1. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ทำด้วยโลหะ

      2. พระพุทธรูปลีลา ทำด้วยโลหะ

      3. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ทำด้วยโลหะ

      4. ปางโปรดสัตว์ ทำด้วยโลหะ

      5. ปางประทานอภัย ทำด้วยโลหะ

      6. ปางนาคปรก ทำด้วยโลหะ ที่เป็นปางสมาธิ ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางเทศนา มีพบแต่ที่ทำเป็นพระพิมพ์

จาก
kanchanapisek.or.th
seehistory.blogspot.com
www.danpranipparn.com


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Mon Nov 17, 2014 9:06 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะลพบุรี (เขมรในประเทศไทย) (ระหว่าง พุทธศตวรรษที่ 16-19)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyMon Apr 29, 2013 12:48 pm

ที่ได้ชื่อศิลปะลพบุรี เพราะว่ายอดปราสาทศิลปะเขมรในไทยคล้ายปรางค์สามยอด และป้องกันการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสในสมัยล่าอาณานิคม


พระพุทธรูป
พระพุทธรูปศิลปะเขมรในประเทศไทย สิ่งที่มีเหมือนกันทุกรุ่นคือ
- พระพักตร์เหลี่ยม
- นิยมปางนาคปรก (แต่บางทีอาจจะไม่มีได้)
- ขมวดเกศาเล็ก


พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 71923bf9
1. บาปวน หรือ ปาปวน : นาคไม่มีกระบังหน้า

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 7192e34c
2. นครวัด : พระพักตร์ดุ พระพุทธรูปและนาคทรงเครื่อง

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 7192995f
3. บายน : หลับพระเนตร แย้มพระโอษฐ์ มีเข็ดขัดลายดอกไม้

* ทำไมพระพุทธรูปเขมรจึงนิยมปางนาคปรก : ชาวเขมรมีคติและความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคเป็นอันมาก เล่ากันว่าองค์ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้กำเนิดมาจากพราหมณ์หนุ่มชาวอินเดียนามว่า “โกญฑัญญะ” ที่ได้ข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรมาพบรักกับนางนาคนามว่า “นาคีโสมะ” จวบจนกระทั่งผู้เป็นบิดาของนางนาคได้ช่วยบุตรเขยสร้างอาณาจักร “กัมโพช” ของชนชาติขอม

พระพุทธรูปสมัยนี้เท่าที่ได้พบแล้ว ทำปางต่างๆ 7 ปาง คือ

1. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ทำด้วยโลหะ

2. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียว และสองข้าง ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

3. ปางประทานพร พบแต่ทำด้วยศิลา

4. ปางโปรดสัตว์ พบแต่ทำด้วยโลหะ

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 200961_81453

5. ปางนาคปรก มีทั้งอย่างเดี่ยวและอย่างรัตนตรัยมหายาน(คือชนิดมีพระพุทธนาคปรก(อาทิพุทธเจ้า)อยู่กลาง พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ข้างขวา นางปัญญาปารมีตา อยู่ข้างซ้าย ) ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

6. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

7. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ สมัยนี้ไม่มีขัดสมาธิเพชร (นั่งสมาธิเห็นฝ่าเท้า 2 ข้าง)

นอกจากปางต่างๆที่กล่าวนี้ ยังมีอีกชนิดหนึ่ง คือ ทำพระพุทธรูปตั้งแต่ 3 องค์ถึง 4 องค์ในฐานอันเดียวกัน ซึ่งอย่าง 3 องค์คงจะหมายความถึงพระพุทธเจ้ามีกาย 3 อย่าง คือ สัมโภคกาย ธรรมกาย และนิรมานกาย ตามคติมหายาน อย่าง 4 องค์ติดกันคงจะหมายถึงพระพุทธเจ้า 4 องค์ในภัททกัลป์น ที่ได้ตรัสรู้ไปแล้ว แต่ทำพระหัตถ์อย่างปางมารวิชัยทั้งนั้น จึงไม่นับเป็นปางหนึ่งต่างหาก

จาก
www.oknation.com
th.wikipedia.org
www.danpranipparn.com
seehistory.blogspot.com
www.malware-site.www
kanchanapisek.or.th


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Sun May 05, 2013 8:25 pm, ทั้งหมด 2 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะหริภุญไชย   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyTue Apr 30, 2013 1:37 pm

พระพุทธรูปของศิลปะหริภุญไชยมีอิทธิพลจากทวารวดี ซึ่งสมัยหริภุญไชยพระพุทธรูปหริภุณไชยมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคือ มีไรพระมัสสุหรือหนวดนั่นเอง ตัวอย่างพระพุทธรูปหริภุญไชยมีดังนี้

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Punchai38
เศียรพระพุทธรูป ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 15-16
ทำมาจากหินทราย
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
ขนาด กว้าง 45 ซ.ม. สูง 42 ซ.ม.

เศียรพระพุทธรูป พระพักตร์ค่อนข้างกลม พระนลาฏกว้าง พระขนงมีแนวต่อเป็นรูปปีกกา พระเนตรเหลือบตำลง หางพระเนตรชี้ขึ้นริมพระโอษฐ์บนบาง พระสกเป็นขมวดกลม อุษณีษะนูนขึ้นเพียงเล็กน้อยกลมกลืนกับรูปพระเศียร ซึ่งมีประภามณฑลรองรับอยู่เบื้องหลัง ซึ่งแสดงถึงอิทธิพลอินเดีย แบบปาละ

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Punchai41
เศียรพระพุทธรูป ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 16
ทำมาจากสำริด
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
ขนาด กว้าง 10.5 ซ.ม. สูง 18 ซ.ม.

เศียรพระพุทธรูป อิทธิพลจากศิลปะทวารวดี พระปรางเป็นโหนกสูง พระขนงเป็นรูปปีกกาติดต่อกัน พระเนตรเหลือบตำลง หางพระเนตรชี้ขึ้น พระนาสิกแบบใหญ่ พระโอษฐ์หนา มีไรพระมัสสุที่ปลายตวัดขึ้นกลางพระนลาฏมีอุรณาเป็นรูปอุนาโลม พระเกตุมาลาสูง เม็ดพระศกเป็นขมวด ทรงกรวยแหลม

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Punchai47
เศียรพระพุทธรูป ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 17-19
ทำมาจากดินเผา
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
ขนาด กว้าง 29 ซ.ม. สูง 35 ซ.ม.

เศียรพระพุทธรูปดินเผาหล่อจากแม่พิมพ์ มีลักษณะค่อนข้างแบน พระพักตร์รูปสี่เหลี่ยม พระนลาฏกว้าง พระขนงเป็นสันนูนต่อกันและมีเส้นขีดซ้อนกันขนานอยู่เบื้องใต้ พระเนตรนูนเหลือบต่ำลง หลังพระเนตรมีเส้นซ้อนเป็นขอบอยู่ พระนาสิกแบนใหญ่ พระโอษฐ์หนาแบะพระมัสสุเป็นเส้นขีดอยู่เหนือพระโอษฐ์ เหนือพระนลาฏมีอุรณากลม ไรพระเกศาเป็นขอบหนา เม็ดพระศกเป็นขมวดก้นหอยแหลมสูง พระศอเป็นปล้อง พระพุทธรูปกลุ่มนี้ทำด้วยดินเผาจากแม่พิมพ์มักจะทำหลายขนาด เพื่อประดับซุ้มต่างๆ ขององค์เจดีย์

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Punchai45
เศียรพระพุทธรูป ศิลปะหริภุญไชย พุทธศตวรรษที่ 17-18
ทำมาจากปูนปั้นบนโกลนศิลาแลง
ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร จังหวัดลำพูน
ขนาด กว้าง 34 ซ.ม. สูง 44 ซ.ม.

เศียรพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ทำด้วยศิลาแลง หุ้มด้วยปูนหยาบๆพระพักตร์ค่อนข้างยาวพระนลาฏโหนก พระนาสิกแบนปลายบานใหญ่ พระขนงเป็นรูปปีกกานูนเชื่อมติดต่อกัน พระเนตรโปนเหลือบลงต่ำ พระโอษฐ์กว้าง ริมพระโอษฐ์หนา มีไรพระมัสสุ เม็ดพระศกแหลม มีขอบไรพระเกศา ลักษณะเช่นนี้มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากพระพุทธรูป ที่ได้รับศิลปะอิทธิพลศิลปะทวารวดี ซึ่งมีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 17

จาก
www.nationalmuseums.finearts.go.th
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย (พ.ศ. 1792–198)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyWed May 01, 2013 1:24 pm

พระพุทธรูปสุโขทัย มี 4 หมวด

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Preview_html_3647ed5c
1. หมวดแรก : หมวดแรก หรือหมวดเบ็ดเตล็ด เป็นพระพุทธรูปที่มีอิทธิพลของศิลปะปาละ ซึ่งรับผ่านมาจากอาณาจักรพุกามในประเทศ พม่า มีลักษณะพระพักตร์กลม พระโอษฐ์ยิ้ม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือ พระถัน

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Preview_html_2b74a414
2. หมวดใหญ่ : หรือ Classic เป็นหมวดที่มีการสร้างอย่างแพร่หลาย ได้รับอิทธิพลในการสร้างจากศิลปะลังกา และพัฒนารูปแบบจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งถือกันว่างามที่สุดของศิลปะในประเทศไทย ลักษณะที่สำคัญของพระพุทธรูปหมวดใหญ่คือ นิยมแสดงปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบเหนือฐานหน้ากระดานเกลี้ยง มีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ ชายสังฆาฏิยาวลงมาจรด พระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระนาสิกงุ้ม (ตามแบบมหาบุรุษลักษณะจากอินเดีย) พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Preview_html_35deea84
3. หมวดกำแพงเพชร : พบมากแถบเมืองกำแพงเพชร มีลักษณะคล้ายหมวดใหญ่ แต่มีส่วนที่ต่างกัน ได้แก่ พระนลาฏ (หน้าผาก) กว้าง พระหนุเสี้ยม ขมวดพระเกศาเล็กมาก พระรัศมีเป็นเปลวสูง พระพักตร์สามเหลี่ยม พบได้น้อย

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Phrashin01
4. หมวดพระพุทธชินราช : หรือ Post Classic ได้แก่ พระพุทธรูปสกุลช่างเมืองพิษณุโลก ซึ่งมีลักษณะที่ต่างจากหมวดใหญ่เล็กน้อยคือ พระพักตร์อวบอ้วนมากกว่า และที่สำคัญคือ การทำปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง 4 ยาวเสมอกัน ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของพระพุทธรูปในหมวดนี้

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย
พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น 2 แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ

1. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น

2. rพระพุทธรูปลีลา ทำด้วยศิลา โลหะและปูนปั้น

3. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

4. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

5. ปางถวายเนตร ทำด้วยโลหะ

6. ปางสมาธิ ทำด้วยโลหะ ปางนี้มีน้อยทำแต่มารวิชัยเป็นพื้น

จาก
www.oknation.com
th.wikipedia.org
www.danpranipparn.com
seehistory.blogspot.com
kanchanapisek.or.th
www.palungdham.com


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Sun May 05, 2013 8:24 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะล้านนา (เชียงแสน หรือ แสงสิงห์)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyThu May 02, 2013 7:24 pm

พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของฝีมือช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศนี้ตั้งแต่โบราณ มีพบทั่วไปในมณฑลพายัพ แต่ที่พบในเมืองเชียงแสนเก่าเป็นชนิดฝีมือช่างดีงามกว่าที่พบในจังหวัดอื่นๆ ทางโบราณคดีจึงใช้คำนี้เป็นชื่อของพระพุทธรูปสมัยนี้ แบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือรุ่นแรกและรุ่นหลัง

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 2009513_85679
รุ่นแรก
เป็นแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย ครั้งราชวงศ์ปาละซึ่งเจริญในอินเดียระหว่าง พ.ศ. 1273 ถึง พ.ศ.1740 ครั้งนั้นมหาพุทธวิทยาลัยที่เมืองนาลันทะเจริญรุ่งเรือง เป็นสำนักที่นักปราชญ์ต่างประเทศไปมาอยู่เนืองๆ ฝีมือช่างอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละจึงได้แพร่หลายไปในนานาประเทศฝ่ายตะวันออก มีประเทศพม่าและชะวาเป็นต้น

ช่างทำพระพุทธรูปสมัยล้านนารุ่นแรกนี้ ก็คงจะได้แบบอย่างมาจากอินเดียด้วยเหมือนกัน แต่จะได้รับมาตรงจากอินเดีย หรือได้รับต่ิอมาจากประเทศพม่าหรือชะวา ข้อนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปสมัยนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอินเดีย ครั้งราชวงศ์ปาละทุกอย่าง คือพระองค์อวบอ้วน เกตุมาลาเป็นต่อมกลม นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน พระพักตร์กลมสั้น พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลมหรือเป็นก้นหอย ไม่มีไรพระศก ฐานมีบัวรอง มีทั้งบัวหงายบัวคว่ำ มีกลีบแซมและมีเกสร

มีพระพุทธรูปอีกสกุลหนึ่ง เรียกว่าพระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกเกือบทุกอย่าง คือพระเกตุมาลาเป็นต่อม พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น เส้นพระศกใหญ่ นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ในท่ามารวิชัย ไม่มีไรพระศก ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ วงพระพักตร์แบนและกว้างกว่า พระโอษฐ์กว้างกว่า ปลายสังฆาฏิใหญ่และมีหลายแฉก ฐานไม่มีบัวรองหรือมีบัวก็เป็นชนิดใหม่ไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน ข้อที่พระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเหมือนกับพระพุทธรูปรุ่นแรกนั้น ก็เพราะได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปมาจากครูเดิมอันเดียวกัน คือครั้งราชวงศ์ปาละ แต่ข้อที่แตกต่างกันเล็กน้อยนั้นก็เพราะพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรก เป็นฝีมือช่างไทยเหนือทำตามอย่างพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละ ส่วนพระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเป็นฝีมือช่างไทยใต้ทำเจือปนด้วยแบบขอม คือที่มีพระพักตร์และพระโอษฐ์กว้างนั้นเป็นลักษณะของพระพุทธรูปขอม ด้วยเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ใกล้และมีทางติดต่อกับเมืองลพบุรีมากกว่าเมืองเชียงแสน พระพุทธรูปแบบนี้ที่เป็นพระนั่งมีปางเดียวเท่านั้น คือปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 2009513_85268
พระพุทธรูปล้านนารุ่นหลัง
เป็นของไทยชาวลานนาและลานช้าง ทำตามอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะต่างไปจากเชียงแสนชั้นแรกมาก คือทำพระเกตุมาลาเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศก ที่แปลกที่สุดนั้นก็คือเกตุมาลาเป็นเปลว พระพุทธรูปตั้งแต่สมัยทวารวดีมาจนถึงสมัยเชียงแสนชั้นแรกทำพระเกตุมาลาสั้นทั้งนั้น เพิ่งจะมีเกตุมาลายาวเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย อันได้รับแบบอย่างมาจากพวกลังกา พระสมัยเชียงแสนชั้นหลังนี้เอาอย่างมาจากสุโขทัยอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้พระพุทธรูปล้านนารุ่นหลังยังนิยมสร้างเลียนแบบล้านนารุ่นแรก และยังมีการใช้หินมีค่าอย่างหยก มาทำพระพุทธรูปด้วย เช่น พระแก้วมรกต เป็นต้น

พระพุทธรูปสมัยนี้ มีพระนั่งเป็นส่วนมาก พระยืนมีน้อยและสร้างด้วยโลหะเป็นพื้น ชั้นแรกตั้งแต่ราว พ.ศ. 1600 ถึง พ.ศ. 1800 ชั้นหลังตั้งแต่ พ.ศ. 1800 ถึง พ.ศ. 2489 คือถึงปีที่พระไชยเชษฐากลับจากเชียงใหม่ไปครองกรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง อันมีเมืองเวียงจันทน์เป็นราชธานี เพราะตั้งแต่นี้ศิลปการทำพระพุทธรูปในลานนาประเทศเสื่อมลง มีแต่พระพุทธรูปฝีมือช่างเลวๆเป็นพื้น อันไม่ควรนับเข้าถึงชั้นศิลป

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Wiang-lor3_clip_image004
สกุลช่างพะเยา หาอ่านต่อได้ที่
http://www.lek-prapai.org/watch.php?id=544


พระพุทธรูปสมัยนี้ทั้งรุ่นแรกและรุ่นหลังที่ได้พบแล้ว ทำเป็นปางต่างๆ 6 ปาง คือ

1. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร (รุ่นแรก) และขัดสมาธิราบ (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

2. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ (รุ่นหลัง) มีน้อย ทำด้วยโลหะ

3. ปางอุ้มบาตร์ (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ

4. ปางกดรอยพระพุทธบาท (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ

5. ปางไสยา (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

6. ปางนั่งห้อยพระบาท (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ

จาก
www.lek-prapai.org
www.oknation.com
th.wikipedia.org
www.danpranipparn.com
seehistory.blogspot.com
kanchanapisek.or.th
www.palungdham.com

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 1220351881buraphakorncom1
(ภาพพระแก้วมรกต ศิลปะล้านนาตอนปลาย)
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะอู่ทอง (ราวพุทธศตวรรษที่ พ.ศ. 1700-2000)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyFri May 03, 2013 12:52 pm

พระพุทธรูปสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลศิลปผสมผสานกันระหว่างศิลปร่วม3๓ รูปแบบ ได้แก่ ศิลปทวารวดี ศิลปขอมหรือลพบุรี และศิลปสุโขทัย ดังนั้น พระพุทธรูปสมัยนี้ จึงจัดออกได้ตามอิทธิพลศิลปเป็น 3 แบบ คือ

1. อิทธิพลศิลปทวารวดี และขอม ผสมกัน ราวพุทธศตวรรษที่ 17-18

2. อิทธิพลศิลปขอมหรือลพบุรีมากขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 18-20 นักโบราณคดีเรียกว่า "อู่ทองหน้าแก่"

แบบอู่ทองเป็นชื่อเรียกศิลปะที่เกิดขึ้น ในบริเวณภาคกลางของประเทศไทยแถบ เมืองลพบุรีและสุพรรณบุรีในช่วงก่อนการ ก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่า “อู่ทอง” นั้น เพราะเข้าใจว่า เป็นเมืองของพระเจ้าอู่ทอง ก่อนที่จะทรงย้ายราชธานีมาสร้างเมืองใหม่ที่กรุงศรีอยุธยา แต่จากหลักฐานทางโบราณคดี ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า เมืองอู่ทองเป็นเมืองสมัยทวารวดีที่ร้างไปแล้วตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรี-อยุธยาประมาณ 300 ปี อย่างไรก็ตาม ได้พบ หลักฐานทางศิลปกรรมบริเวณภาคกลางของประเทศไทยระหว่างพุทธศตวรรษที่ 17-19 ที่มีอิทธิพลของศิลปะทวารวดีและศิลปะขอมปะปนอยู่ นักวิชาการจึงอนุโลมเรียกศิลปะนี้ว่า “แบบอู่ทอง” โดยเป็นที่เข้าใจกันทั่วไป แล้วว่า หมายถึงศิลปะในภาคกลางที่เกิดขึ้น ก่อนสมัยอยุธยา

พระพุทธรูปแบบอู่ทองแบ่งเป็น 3 รุ่น คือ

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Budd1755
1. อู่ทองรุ่นแรก มีอิทธิพลของศิลปะทวารวดี และขอมปะปนกัน ได้แก่ กลุ่มพระพุทธรูปที่มี พระพักตร์เป็นแบบพื้นเมืองคือ พระพักตร์ สี่เหลี่ยม ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุน พระรัศมีเป็นตุ่มเล็กๆ ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ปลายตัดตรง

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 2009430_78948
2. อู่ทองรุ่นที่ 2 แสดงอิทธิพลของศิลปะขอมชัดเจนที่สุด ลักษณะที่สำคัญได้แก่ พระ-พักตร์สี่เหลี่ยม สีพระพักตร์ถมึงทึง ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุน มีไรพระศก (แนวที่ปรากฏอยู่ระหว่างพระนลาฏและขมวดพระเกศา) พระ-รัศมีเป็นเปลว ชายสังฆาฏิเป็นแผ่นใหญ่ปลาย ตัดตรง นิยมทำพระพุทธรูปที่มีพระชงฆ์เป็นสันที่เรียกว่า “พระแข้งคม” ประทับนั่งเหนือฐานที่เว้าเป็นร่อง

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก L29-59
3. อู่ทองรุ่นที่ 3 มีอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย ลักษณะโดยรวมคล้ายกับรุ่นที่ 3 คือ มีไรพระศก พระชงฆ์เป็นสัน ประทับนั่งเหนือฐานที่เว้าเป็นร่อง ขมวดพระเกศาเล็กเป็นหนามขนุน แต่มีลักษณะที่แตกต่าง คือ พระพักตร์รูปไข่ อันเป็นอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย และพระรัศมีเป็นเปลวสูงอย่างมาก

ปางที่พบ
1. ปางไสยา ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

2. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ และสมาธิเพชร(แต่มีน้อย) ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น

3. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น

4. ปางประทานอภัย มีทั้งอย่างยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะ

5. ปางปาลิไลยกะ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

6. ปางลีลา ทำด้วยโลหะ

จาก
kanchanapisek.or.th
www.itti-patihan.com
seehistory.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย Admin เมื่อ Sun May 05, 2013 8:22 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะอยุธยา (พ.ศ. 1893-2310)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptySun May 05, 2013 8:21 pm

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 9k=
พระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นศิลปะที่สืบต่อจากพระพุทธรูปแบบอู่ทองทั้งรุ่นแรก และรุ่นที่ 2 ส่วนที่ศิลปะอยุธยาได้เพิ่มเข้ามาคือ การสร้างรูปเล่าเรื่องประดับ ส่วนฐานพระพุทธรูป เช่น ตอนมารผจญ หรือ ประดับด้วยพระสาวก ครั้นถึงสมัยอยุธยาตอนกลางได้มีพระพุทธรูปแบบใหม่เกิดขึ้นในศิลปะอยุธยา คือพระพุทธรูปทรงเครื่องน้อย ได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปที่มีเครื่องทรง เช่น มงกุฎ กรองศอ สังวาล ทับทรวง ทองพระกร ในระยะนี้ยังมีเครื่องทรงไม่มาก จึงเรียกว่า ทรงเครื่องน้อย ต่อมาในสมัย อยุธยาตอนปลายมีเครื่องทรงอย่างมาก จึง เรียกว่า ทรงเครื่องใหญ่ พร้อมๆกับรูปแบบใหม่ก็ได้เกิดปางขึ้นใหม่ คือ การแสดงปางประทานอภัย โดยยกทั้ง 2 พระหัตถ์ระดับพระอุระ เรียกว่า ปางห้ามสมุทร ตัวอย่างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ที่ถือกันว่างดงามมาก ได้แก่ พระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา คติในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่นี้ได้ให้อิทธิพลต่อศิลปะรัตนโกสินทร์ตอนต้นด้วย

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 431_01

จาก
www.laksanathai.com
kanchanapisek.or.th
www.itti-patihan.com
seehistory.blogspot.com

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 380np
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: พระพุทธรูปศิลปะรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2325 ลง)   พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก EmptyMon May 06, 2013 11:01 pm

กรุงรัตนโกสินทร์ได้สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2325 จนถึงปัจจุบัน

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก P1070025
ในช่วงรัชกาลที่ 1 และ รัชกาลที่ 2 พระองค์ท่านได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปสมัยต่างๆเข้ามาไว้ใน พระนคร เนื่องจากพระพุทธรูปมีขนาดต่างกัน ช่างจึงได้เอาปูนมาหุ้มแล้วลงรัก ปิดทอง เมื่อไม่นานมานี้ปูนได้เกิดกะเทาะออกทำให้เห็นว่าพระพุทธรูปจริงนั้น ทำด้วยทองสำริด ได้ทำการลงรักปิดทองใหม่ ยังได้อัญเชิญพระประธานขนาด ใหญ่ของสมัยสุโขทัยอยุธยาหลายองค์ เช่น พระศรีศากยมุนี รวมทั้งพระพุทธรูป ที่มีอิทธิพลต่อการสร้างพระพุทธรูปอย่างพระแก้วมรกต ในช่วงสมัยนี้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ไม่มากนัก เพราะถือเป็น สมัยแห่งการสร้างบ้านแปงเมือง มีการสร้างพระราชวังและวัดวาอาราม ส่วนพระพุทธรูป นั้น โปรดเกล้าฯ ให้ไปชะลอมาจากราชธานีเก่า โดยเฉพาะจากกรุงสุโขทัย และพระราชทานไปตามวัดต่างๆ พระพุทธรูปที่มีการสร้างขึ้น ใหม่ส่วนใหญ่เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน ลักษณะที่สำคัญซึ่งสืบทอดมาจากพระพุทธรูป สมัยอยุธยาคือ พระพักตร์สี่เหลี่ยมเคร่งขรึม ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว สังฆาฏิ เป็นแผ่นใหญ่ ตัวอย่างเช่น พระประธาน ในพระอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ราชวรมหาวิหาร หรือ พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตยวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร ที่วัดพระเชตุพนเป็นต้น

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก 1294146079
ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นยุคที่พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรือง ได้ทรงสร้าง พระพุทธรูปจำนวนมากเช่น พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระเสรฐตมมุนี พระพุทธไตร รัตนายก(หลวงพ่อโต) พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด ในกรุงเทพฯ เป็นพระนอนที่มีความงดงามโดยเฉพาะที่ฝ่าพระบาท ทำเป็นลายประดับ มุกภาพมงคลร้อยแปด และพระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปางห้ามสมุทรถือเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา ตอนปลาย เป็นพุทธลักษณะทรงเครื่องใหญ่เต็มยศ ประดับกระจกหรือเนาวรัตน์ทั้งองค์ ส่วนมากนิยมทำปางห้ามสมุทร พระพักตร์ดูเรียบเฉยเหมือนหน้าหุ่นตัวพระของโขน ยังมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ประทับอยู่บนฐานที่ลดหลั่นกันหลายชั้น ลวดลายละเอียด งดงาม มีผ้าทิพย์ประกอบดูรับกับองค์พระทรงเครื่องทั้งยังมีฉัตรประกอบทุกองค์ แม้แต่พระสาวกส่วนบัวที่อยู่ชั้นในสุดมีการทำลวดลายอย่างละเอียด เชื่อว่าได้แรง บันดาลจากพระแก้วมรกตในเครื่องทรงชุดประจำฤดูร้อน ยังมีปรากฏพระพุทธรูป แบบจีวรดอก คือ ลวดลายดอกดวงที่จีวร เชื่อว่าได้รับอิธิพลมาจากพระแก้วมรกต ในเครื่องทรงชุดประจำฤดูฝน และได้มีพระพุทธรูปแบบใหม่เกิดขึ้น พระพุทธรูปดังกล่าวมีลักษณะ พระพักตร์คล้ายกับหุ่นละคร รวมทั้งพระราชนิยมในการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ พระพุทธรูปที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธยอดฟ้า-จุฬาโลก และพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่ประดิษฐานภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตน-ศาสดาราม


พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก %E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8
ในรัชกาลที่ 4 นิยมสร้างพระพุทธรูปให้เหมือนจริงมากขึ้น โดยพระพุทธรูปไม่มีพระอุษณีย์ษะ และการครองจีวรมีริ้วแบบสมจริง

แต่ในรัชกาลที่ 5 ได้ย้อนกลับไปสร้างพระพุทธรูปแบบมีพระอุษณีย์ษตามเดิม จนเข้าสู่

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Bud14050653p1
ต่อมา สมัยแห่งงานศิลปกรรมร่วมสมัย จึงได้นำรูป- แบบพระพุทธรูปที่เคยมีมาก่อน มาสร้างใหม่ หรือปรับเปลี่ยนบางอย่างที่เป็นความนิยมสมัยใหม่เพิ่มเข้าไป รูปแบบที่มีการนำกลับมาสร้างเป็นอย่างมาก ได้แก่ พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย เช่น พระพุทธรูปลีลา ซึ่งเป็นพระ-ประธานที่พุทธมณฑล มีชื่อว่า พระศรีศากยะ-ทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ซึ่ง ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี นาม เดิมคือ คอราโด เฟโรจี (Corado Feroci)

พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก Klwsp
ร.9 มี พระพุทธ รูป ภปร

จาก
www.bloggang.com
www.khaosod.co.th
www.pralanna.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
พระพุทธรูป คติการปั้นรูปเคารพบูชาจากรีก
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ศาสนาและความเชื่ออิทธิพลจากต่างแดน-
ไปที่: