วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม

รวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและชาวต่างชาติ
 
บ้านบ้าน  Latest imagesLatest images  ค้นหาค้นหา  สมัครสมาชิก(Register)สมัครสมาชิก(Register)  เข้าสู่ระบบ(Log in)  

 

 อังกะลุงชวามาสู่สยาม

Go down 
ผู้ตั้งข้อความ
Admin
Admin
Admin


จำนวนข้อความ : 448
Join date : 20/10/2012
ที่อยู่ : ถนนเจริญยาก ไม่มีรถเมล์ แถมอยู่ที่ Landlocked

อังกะลุงชวามาสู่สยาม Empty
ตั้งหัวข้อเรื่อง: อังกะลุงชวามาสู่สยาม   อังกะลุงชวามาสู่สยาม EmptySun Oct 21, 2012 12:10 am


ประวัติอังกะลุง
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์ได้รับความสุขโดยทั่วกัน หากผู้ใดได้รับทุกข์หรือเดือดร้อนประการใดพระองค์ทรงหาหนทางช่วยเหลือเสมอ ครั้งนั้นปรากฏว่า สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์วงค์วรเดช ทรงกลัดกลุ้มพระทัย เมื่อพระองค์ทรงทราบ จึงมีรับสั่งให้เข้าเผ้าเพื่อทรงไต่ถามทุกข์สุข เนื่องจากเสด็จในกรมเป็นอนุชาที่แสนเสน่หา พระองค์ทรงเห็นความทุกข์นั้น จึงทรงแนะนำและอนุญาตให้หาที่เสด็จประพาสให้ทรงเกษมสำราญ กรมสมเด็จพระอนุชาพอพระทัยทรงรู้สึกในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น จึงทรงดำริว่าจะเสด็จประพาสประเทศชวา

อังกะลุงชวามาสู่สยาม 320px-Eight-pitch_Angklung%2C_Mitchell_Park%2C_Milwaukee
ภาพอังกะลุงอินโดนีเซีย

ดังนั้นในวันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2450 สมเด็จเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าพระยาภานุพันธ์วงค์วรเดช จึงเสด็จจากกรุงเทพมหานคร มุ่งไปยังเมืองได ของประเทศชวาเป็นแห่งแรก และทรงตั้งพระทัยว่าจะเสด็จไปยังตำบล มาโตเออ การเดินทางไปลำบากมาก เนื่องจากยังไม่มียานพาหนะ เมื่อเสด็จถึงตำบลมาโตเออ พวกประชาชนมีอยู่ประมาณ 10 หมู่บ้าน ต่างก็พากันมาต้อนรับพระองค์ อย่างคับคั่งสมพระเกียรติในขณะที่ทรงประทับเยี่ยมเยียนราษฎรตำบลนั้น บรรดาชาวบ้านต่างนัด จัดดนตรี อย่างที่เรียกว่ากำมาลัง (มี ปีพาทย์ ฆ้อง กลอง ) นำมาเสดงถวายให้ทอดพระเนตร ประชันกันถึง 7 วงในหมู่ดนตรี มีแปลกอยู่ชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ไผ่เป็นท่อน ๆ แขวนไว้เป็นตับ ตับละ 2 ท่อน ใช้ถือคนละ 1 ตับ ใช้เข่าเรียงเสียง และสลับเสียงไปตามทำนองของเพลงต่าง ๆ ได้ไพเราะน่าฟังมา ผิดกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่ใช้บรรเลงด้วย ดีด สี ตี เป่า แต่ดนตรีชนิดนี้ใช้บรรเลงด้วยเข่าให้ขาส่วนล่างของกระบอกทั้งสองขาที่แขวนอยู่ในรางกระทบหรือตัวรางข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่ง เช็คเสียงดังตามที่เทียบกระบอกเสียงไว้ เป็นเสียงสูงหรือต่ำกระบอกเสียง ใหญ่ กลาง เล็ก ผูกแขวนไว้รางเป็นตับ ๆ เมื่อเข่าไปตามเสียงทำนองของเพลงที่สับสน วนเวียน ตรงความเคลื่อนไหวของเสียงตามทำนองเพลงนั้น ๆ ได้น่าฟังมาก ดนตรีชนิดนี้แหละเรียกว่า "อังกะลุง" ในโอกาสนี้หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ติดตามเสด็จไปด้วย

คลิปการเล่นอังกะลุงของอินโดนีเซีย


เมื่อพระองค์เสด็จกลับเมืองไทย จึงมีรับสั่งให้กงศุลไทยในชวา ซื้อดนตรีชนิดนี้ส่งมา 1 ชุด แล้วทรงนำดนตรีชนิดนี้ฝึกสอนมหาดเล็กของพระองค์ในวังบูรพาก่อน จึงเกิดมีดนตรีชนิดนี้ขึ้นในเมืองไทย ต่อมาก็ได้แพร่หลาย ออกไปทั่วประเทศ ดังนั้นจึงถือว่าพระองค์เป็นเจ้านายคนแรกที่ให้กำเนิดดนตรีชนิดนี้ขึ้นในประเทศไทย ทั้งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า อังกะลุงนี้ เป็นดงตรีที่แปลกชนิดหนึ่งผู้บรรเลงทุก ๆ คนต้องมีความสามัคคีพร้อมเพรียงกันตลอดเวลาที่บรรเลงเพลงทุก ๆ เพลงได้ ทั้งผู้เขย่าก็มีความสนุกสนานมากบางคนถึงกับเขย่าไปตามทำนองเพลงและมีผู้ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองไทยสามารถทำเสียงสูงและต่ำกระบอกเสียงใหญ่ กลาง เล็ก ด้วยไม้ไผ่สายธรรมชาติ ตลอดจนรูปของตับอังกะลุง ได้ดัดแปลงแก้ไข ให้สวยงามและเหมาะสมให้ผิดไปจากของเดิมมากมาย นับว่าท่านมีสายตากว้างไกล และเป็นที่นิยมกันแพร่หลายของไทยตราบเท่าทุกวันนี้ ชาวต่างชาติได้สนใจดนตรีนี้ ได้สั่งซื้อไปบรรเลงเพลงของชาติตนเป็นจำนวนมาก อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีประเภท “ ตี ” มีเสียงที่เกิดจากการกระทบของไม้ไผ่ กับรางไม้ ต้นแบบจากประเทศชวา (ประเทศอินโดนิเชีย ) ที่เรียกว่า “อุงคะลุง ”

อังกะลุงชวามาสู่สยาม T3
ภาพอังกะลุงของไทย

ครูจางวางศร ศิลปบรรเลง (หลวงประดิษฐ์ไพเราะ)เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราว พ.ศ. 2451 เมื่อครั้งที่ท่านได้โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดช ขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสประเทศชวาอังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 2 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียงอังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้น มี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมด ทั้งตัวอังกะลุงและราง ถายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6 เชื่อกันว่า มีกาพัฒนาการบรรเลง จากการไกว เป็นการเขย่าแทน นับว่า เป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบันหลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวง ที่วัดราชาธิวาส ในสมัยรัชกาลที่ 6โดยทั่วไปเครื่องหนึ่งจะมีเสียงเดียว การเล่นอังกะลุงให้เป็นเพลงจึงต้องใช้อังกะลุงหลายเครื่อง โดยมักจะให้นักดนตรีถืออังกะลุงคนละ 1 - 2 เครื่อง เมื่อต้องการโน้ตเสียงใด นักดนตรีประจำเสียงนั้นก็จะเขย่าอังกะลุง การเล่นอังกะลุงจึงต้องอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นอย่างมากนอกจากอังกะลุงเครื่องละหนึ่งเสียงแล้ว ยังมีการผลิตอังกะลุงที่มีเครื่องหนึ่งมากกว่า 1 เสียงด้วย เรียกว่า อังกะลุงราว

ในสมัยต่อมาจึงมีการพัฒนาอังกะลุง โดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก ลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชการที่ 6 เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลง จากการไกว เป็นการเขย่าแทน นับว่า เป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน

อังกะลุงชวามาสู่สยาม C6s6p1p25

หลวงประดิษฐ์ไพเราะ ได้นำวงอังกะลุง จากวังบูรพาภิรมย์ ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวง ที่วัดราชาธิวาส ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ไม่ทราบว่าเป็นปีใด

คลิปการเล่นอังกะลุงราวของไทย

วงอังกะลุง จะประกอบไปด้วยชุดอังกะลุงซึ่งมีจำนวนอย่างน้อย 7 คู่ เครื่องประกอบจังหวะเช่น ฉิ่ง , ฉาบเล็ก, กรับ,โหม่ง, กลองแขกและเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่นธงชาติ,หางนกยูง เป็นต้น ตามสถานศึกษาต่าง ๆ มักนิยมนำมาฝึกหัดให้กับนักเรียน เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีไทย ที่ให้เสียงไพเราะ ฝึกหัดไม่ยาก ใช้งบประมาณในการจัดตั้งวงไม่สูงมากนัก (ประมาณ 10,000 บาท) ทั้งยังเป็นการสร้างความสามัคคีและความพร้อมเพรียงให้กับหมู่คณะอีกด้วย เพราะวงอังกะลุงปกติ ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว ทำไม่ได้ (นอกจากจะใช้แบบ อังกะลุงราว)

ข้อแตกต่างระหว่างอังกะลุงไทยกับอังกะลุงอินโดนีเซีย
- เดิมชื่อภาษาชวาอุงคะลุง ต่อมาภาษาไทยเรียกว่าอังกะลุง
- เพิ่มกระบอกไม้ไผ่จาก 2 กระบอก มาเป็น 3 กระบอก
- มีการประดับตกแต่งเพิ่มเติมเช่น ธง หางนกยูง ริบบิ้น เป็นต้น
- จากเดิมอังกะลุงมี 5 เสียงได้แก่ โด เร มี ซอล ลา ต่อมามี 7 เสียงเพิ่มมา 2 เสียง คือ ฟา ที
- จากเดิมมือหนึ่งแกว่งมือหึ่งถือเปลี่ยนมาเป็นเล่น 2 มือ

จาก
proxyweb.com.es
webboard.ptpk.ac.th
www.culture.go.th
www.skn.ac.th
www.youtube.com
ขึ้นไปข้างบน Go down
https://siamois-wenhua.thai-forum.net
 
อังกะลุงชวามาสู่สยาม
ขึ้นไปข้างบน 
หน้า 1 จาก 1

Permissions in this forum:คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ
วัฒนธรรมและชาวต่างชาติในสยาม :: ดนตรี-นาฏศิลป์ไทยอิทธิพลจากต่างแดน-
ไปที่: